เพื่อความสุข ความรู้ คุณภาพ ความปลอดภัย จากการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ความเสี่ยงแบบง่ายๆ
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554
บทบาทของผู้นำ
ผู้นำคือผู้กำหนดทิศทางองค์กร องค์กรจะหันซ้าย หรือหันขวาขึ้นอยู่กับผู้นำเพียงอย่างเดียวครับ หลายครั้งประวัติศาสตร์ในอดีตได้บันทึกความรุ่งโรจน์ และเสื่อมสลายขององค์กร หรืออาณาจักรต่างๆ ไว้ ส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นการนำของผู้นำ ยกตัวอย่างการเลิกทาสในสมัยของประธานาธิบดี อับราฮัม ลินคอร์น ในช่วงสมัยของท่านเกิดสงครามกลางเมืองจนอเมริกาแทบจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆ แต่ด้วยการนำของท่าน และเป้าหมายที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือการเลิกระบบทาส และรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นปึกแผ่นจนถึงปัจจุบัน เป็นต้น
ผู้นำคือแบบอย่าง ต้นไม้หล่นไม่ไกลต้น, ปลูกพืชอะไรไว้ก็ได้ผลตามนั้น คำพังเพยนี้ยังคงชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงในปัจจุบันของการเป็นผู้นำ ท่านมหาตมะ คานธี คือผู้นำที่เป็นแบบอย่าง ท่านกุมแนวคิดหลักแห่งอหิงสาไว้จนวาระสุดท้ายในชีวิต การดำรงชีวิตของท่านก็เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย มีอุปกรณ์ในการยังชีพอยู่เพียงไม่กี่ชิ้น ซ้ำยังทอผ้าใช้เอง ทำไมท่านจึงทำแบบนี้ อินเดียในสมัยของท่านประชาชนมีความยากจนเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังอยู่ใต้การปกครองของอังกฤษซึ้งไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน ท่านมหาตมะ คานธีจึงกำลังบอกกับประชาชนของท่านว่า ฉันคือพวกเดียวกับท่าน ฉันอยู่ข้างท่าน และฉันเป็นเหมือนท่าน อันนำไปสู่อินเดียสามารถประกาศเอกราชจากการปกครองของอังกฤษในที่สุด
ผู้นำคือผู้อนุญาตและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้นำคือผู้เปิดประตูของโอกาสในการพัฒนาต่างๆ ดังนั้นถ้าผู้นำปิดประตู เส้นทางที่เราวาดหวังไว้ก็จะปิดตามไปด้วย การพัฒนาคุณภาพต้องมีวัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณในการจัดการถ้าขาดเสียซึ้งการสนับสนุนแล้ว ทุกอย่างเดินหน้าได้ยาก แต่ทว่าความจำเป็นในเรื่องงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ไม่สามารถดำเนินการ อย่างนี้ก็ต้องทำใจนิดหนึ่งครับ
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554
ปัญญา
ว่าเกิดขึ้นแล้วจะนำพาสิ่งที่ไม่ดีมาให้
แต่ความเป็นจริงสติปัญญาต่างๆในโลกนี้
ล้วนเกิดจากความผิดพลาดทั้งนั้น
ความสำเร็จเป็นเพียงส่วนน้อย
ที่นำสติปัญญามาให้
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การวัดรอยเท้าช้าง
ตำแหน่งที่เราต้องการอ้างอิงหรือเปรียบเทียบจากหน่วยงานที่สามารถปฏิบัติได้เป็นเลิศ และเราต้องการนำมาปรับเป็นแนวทางในการทำงานของเรา จุดนี้เราเรียกว่า Benchmark หรือรอยเท้าช้าง
แต่กระบวนการในการหา วิธีการที่สามารถมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ (Best Practices)ที่ทำให้เราจไปถึงจุดที่เราอ้างอิงหรือความเป็นเลิศในการปฏิบัติที่เราต้องการได้นั้นคือ การวัดรอยเท้าช้าง(Benchmarking) โดยสามารถสรุปแนวทางฺดังต่อไปนี้
ขอขอบคุณ อาจารย์รณินทร์ กิจกล้า ที่เอื้อเฟื้อตาราง
ดังนั้นการวัดรอยเท้าช้างจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำพาเราไปสู่จุดมุ่งหมายได้ แต่ที่สำคัญต้องให้มีความเป็นตัวของตัวเองคือยึดบริบทของตัวเราว่าเป็นเช่นไร นั่นจะทำให้การปฏิบัติของเรามีความสุขและสนุกครับ
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ประสบการณ์มือใหม่หัดเขียน SPA 2011
- ก่อนที่เราจะเริ่มเขียนต้องมั่นใจว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่เรารับผิดชอบ เพราะจะเขียนยากมากในเรื่องที่เราไม่รู้(ลองเขียนแ้ล้วครับ) อย่างเก่งก็อาจเขียนได้แต่ Purpose Process อาจเขียนได้บ้าง Performance จะนึกไม่ออกครับ
- ในเรื่องที่เรารับผิดชอบอยู่เวลาเขียนอย่าติดกรอบให้เป็นไปตาม Purpose Process Performance ตามลำดับ บอกตรงๆว่าสรรหาคำยากในการเขียนครับ ในความคิดเห็นของผมเขียนอย่างไรก็ได้ครับ อิสระ แต่อยู่ในกรอบ 3P
- สิ่งที่ยากที่สุดของการเขียนแบบประเมินแบบใหม่คือ Performance เพราะถ้ายังไม่ได้ทำ หรือมีการประเมินเพียงเล็กน้อย หรือทำแล้วยังไม่ได้ประเมิน ก็จะเขียนไม่ออก หรือเขียนได้อย่างมาก ก็อยู่ในช่วงการประเมิน กำลังจะประเมินเป็นต้น ดังนั้นกรอบการเขียนดูว่าง่าย แต่เขียนยาก ถ้าไม่มีผลงาน ในด้านหนึ่งที่ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอน(อาจารย์นุ้ย) ว่าให้พูดคุยในทีมงานว่าเรามีเรื่องดีที่เราเคยทำ หรือเรื่องดีที่อยากทำ ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเห็นอะ
ไรนั่นคือ performance ที่ยังไม่ต้องวัดตั้งไว้เพื ่อทำ นั่นคือเริ่มต้นที่ตนเองคือทำ แล้วค่อยประเมิน - สำหรับผมการเขียนตอบจะตั้งหัวข้อในการตอบด้วย Assessment ที่กำหนดไว้ จากนั้นก็พยายามเชื่อมโยงกับตัวมาตรฐานที่กำหนดว่าเป็นอย่างไร ให้ทำอะไร แล้วเรามีสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นจากการที่เราทำเมื่อเทียบกันแล้วเข้าตามมาตรฐานนี้หรือไม่ แล้วจึงตอบในข้อนั้น
- สิ่งดีๆที่ผมเขียนในขั้นต้น ก็คือการพัฒนาคุณภาพที่เราได้ปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้การทำงานของเรามีมาตรฐานและมีความปลอดภัย ซึ้งแหล่งที่มามีได้ไม่จำกัดครับ ไม่ว่าจากมาตรฐาน ตัวชี้วัด AE เรื่องเล่า (อย่างที่อาจารย์นุ้ยสอน) เรื่องของเพื่อนบ้าน ฯลฯ แต่ต้องเป็นการพัฒนาตามบริบทของเรา โดยเขียนในกรอบ 3P
- แนวทางในการเขียนของผมยังคงอาศัย บวก ลบ เพื่อเป็นตัวประเมินในการบอกว่ากิจกรรมที่ทำอยู่นี้ไปถึงไหนแล้ว ทำหรือยังไม่ได้ทำ ประเมินหรือยัง เพื่อไว้เตือนตัวเอง ว่าต้องทำ ต้องประเมินต่อ
- สุดท้ายต้องขอโทษครับที่ต้องบอกว่าอย่าโกหกตัวเองครับ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป้นอย่างไร ก็ต้องให้เป็นอย่างนั้น เพราะสิ่งนี้จะทำให้สามารถก้าวผ่านเข้าสู่การพัมนาคุณภาพที่แท้จริงครับ
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
กฏ 80 / 20 กับการพัฒนาคุณภาพ
อะไรคือ กฏ 80/20 ก่อนอื่นขอท้าวความก่อนครับว่า กฏนี้ได้รับการค้นคว้าโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอิตาเลียนชื่อ Vilfredo Pareto ในราวต้นศตวรรษที่ 19 โดยสังเกตุว่ารายได้ของประเทศ หรือความมั่งคั่งกว่า 80 % ของประเทศ มาจากกลุ่มประชากรเพียง 20 % ของประเทศอิตาลี โดย Pareto สังเกตเพิ่มเติมไปอีกว่าในช่วงเวลาต่างๆของประเทศ และประเทศอื่นๆ ก็มีลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน จึงเป็นที่มา ของกฏ 80/20 หรือ Pareto Principle ซึ้งโดยเนื้อแท้ของกฏคือการที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งที่สำคัญ จำเป็น และส่งผลกระทบต่อการทำงาน การดำเนินชีวิต และอืนๆ แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราทอดทิ้งในส่วนที่เหลือ ( 80%) เราก็ยังต้องให้การดูแล หรือพัฒนาต่อไป จึงทำให้กฏนี้สามารถมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกเรื่องแล้วแต่มุมมองที่เราจะมาพิจารณาครับว่าเป็นเรื่องใด ไม่ว่า การดำเนินชีวิต การค้า การขาย การลงทุน เป็นต้น
แต่ในภาพรวมการพัฒนาคุณภาพ เราสามารถมาประยุกต์ใช้ได้ โดยมุ่งเน้นไปในเรื่องที่สำคัญก่อน เพราะเราต้องยอมรับว่าปัญหาต่างๆ หรือสิ่งต่างๆที่เราต้องการพัฒนามีมากมายเหลือเกิน ดังนั้นเราต้องชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญของเรื่องนี้, ปัญหาสำคัญ, สิ่งที่อยากพัฒนามากที่สุด, กระบวนการสำคัญ, กลุ่มผู้ป่วยสำคัญ ,บริบทที่สำคัญของโรงพยาบาลเรา,ความเสี่ยงที่สำคัญ และอื่นที่สำคัญ (20%) ที่เราจะพัฒนาหรือปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสิ่งที่เราต้องการ โดยอาจจะยึดหลักง่ายว่า เป้าหมายคืออะไร กระบวนการที่จะทำคืออะไร และสุดท้ายผลลัพธ์เป็นอย่างไร ( 3P : Purpose Process Performance) และขอแถมท้ายนิดหนึ่งครับว่า ต้องติดตามและประเมินด้วยครับว่าบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ แต่ในส่วน 80% ที่เหลือก็อย่าทิ้งครับ แต่เราต้องนำมาพัฒนาไปเรื่อยๆ เก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ จนในท้ายที่สุดก็จะไม่มีอะไรพัฒนา HA HA HA พูดเล่นครับ การพัฒนาคุณภาพที่ดีคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องครับ แม้จะเป็นเรื่องเดียวกันครับ เราก็ต้องพัฒนาต่อเพื่อประโยชน์สำหรับทุกฝ่าย
ดังนั้น 80/20 คือการคัดเลือกว่าอะไรคือบริบทที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของเราครับ ซึ้งถ้าเราระบุได้การพัฒนาคุณภาพก็จะตรงประเด็นและสะท้อนความเป็นตัวเรามากที่สุดครับ
วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
ขุมทรัพย์เพื่อการประเมินคุณภาพ HA
จุดสำคัญในการพัฒนาคุณภาพเมื่อเราได้มีการพัฒนาไประยะหนึ่งแล้วก็ต้องมี การเขียนแบบประเมินตนเองทั้ง 4 ส่วน คือ การนำองค์กร,ระบบงานสำคัญ,การดูแลผู้ป่วย และการประเมินผล จากเดิมที่เราทั้งงง งง งง และก็งง ว่าจะเขียนอะไรดี เพื่อสะท้อนออกมาว่า เรามีเกียรติประวัติในการพัฒนาคุณภาพอย่างไร คืบหน้าไปแค่ไหน สิ่งที่น่าชื่นชม และปรับปรุงคืออะไร โดยการเขียนที่ผ่านมาเราจะลอกคำเขียนที่อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด ( SPA วันหลังจะเขียนเรื่องราวของ SPA นำเสนอครับ) และเขียนเป็นบทบรรยายภาษาไทยว่าทำแบบนั้น ทำแบบโน้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นสามารถตอบโจทย์ของของอักษรย่อ A (Assessment):การตอบประเมินตนเองได้ (ผมก็เป็นครับ) แต่จากการได้เรียนรู้ในแนวทาง SPA พบว่าผมหลงทางอยู่นาน แท้จริงแล้วเราสามารถนำสิ่งที่เราได้พัฒนาอย่างมากมายมาช่วยในการเขียนสรุปในอักษรย่อ A โดยนำสิ่งเหล่านี้มาเป็นผู้ช่วยในการสรุปครับ
1.AE (Adverse event) : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ โดยสรุปออกมาให้ได้ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราดำเนินการแก้ไข/ป้องกันอย่างไร และผลลัพธ์เป็นอย่างไร
2.SIMPLE (Patient safety goals) คือการนำ SIMPLE มาทบทวน วางระบบ และตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำ SIMPLE ที่โรงพยาบาลเรากำหนด ขอย้ำนะครับว่าต้องเป็นบริบทของเรา
3.เรื่องเล่า เรื่องเล่าเป็นแนวทางหนึ่งในการที่เราจะหาโอกาสในการพัฒนา โดยให้ทีมงานหรือน้องๆของเราเล่าเรื่องราวที่ประทับใจจากการให้บริการ แล้วนำมาสู่การพัฒนาในระบบหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่านั้น
4.งานวิจัย เราก็สามารถนำงานวิจัยไม่ว่าจะเป็น Mini research จนถึงการทำ R2R นำมาเขียนให้เห็นภาพว่าสิ่งที่เราได้วิจัยออกมานั้นได้ตอบโจทย์ของมาตรฐานหรือกระบวนการ ผลลัพธ์เป้นอย่างไร
โดยสิ่งเหล่านี้อาจเขียนในกรอบที่ว่าทำอะไร - ทำอย่างไร - ผลลัพธ์ เป็นอย่างไร คุ้นๆไหมครับว่าคืออะไร มันก็คือกระบวนการ 3P (Purpose-Process-Performance) นั่นเอง โดยเขียนตอบในสิ่งที่เราได้พัฒนาและปรับปรุงออกมาเป็นข้อๆ แต่สิ่งที่สำคัญการที่เราจะสามารถเขียนออกมาได้นั้นต้องเกิดจากการปฏิบัติของเราเอง ย้ำต้องปฏิบัติ มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี เพราะนั่นจะทำให้เราไม่สามารถเขียนออกมาได้ และเมื่อเราต้องถูกประเมิน เราก็อาจอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้า คายไม่ออก เพราะไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไรเพราะยังไม่ได้ทำ น่าคิด น่าคิด ส่วนแนวการเขียนและตัวอย่างผมจะทยอยเขียนนำเสนอต่อไปครับ
วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
มาตรฐาน ISO 15189 ใครว่ายาก…
วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เอกสารคุณภาพ… ยาขม ? (ภาค HA)
1. Hospital profile,Hospital mini profile (องค์กร) เป็นภาพรวมการบริหารจัดการ และการดำเนินการคุณภาพขององค์กร หรือโรงพยาบาลตามบริบทขณะนั้น
2, SA (Self assesment) หรือแบบประเมินตนเองตาม SPA ตอนที่ I-IV (ทีมคล่อมสายงาน,การประเมินผลลัพธ์) สิ่งนี้คือการเขียนประเมินระบบของทีม คล่อมสายงานทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น RM IC ENV HRD เป็นต้น ว่ามีการพัฒนาคุณภาพไปถึงไหนแล้วจุดแข็ง จุดอ่อนเป็นอย่างไรและจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร ตามบริบทขณะนั้น
3. Service profile (หน่วยงาน) เป็นแบบประเมินที่หน่วยงานต่างๆเรียบเรียงเพื่อติดตามความก้าวหน้า และติดตามผลลัพธ์ในการปฏิบัติงาน ตามบริบทขณะนั้น
4. Clinical Tracer (กลุ่มโรคต่าง) เป็นลายแทงขุมทรัพย์ของกลุ่มโรคว่าเส้นทางในการพัฒนาคุณภาพใน ปัจจุบันเป็นอย่าง และอนาคตจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไน ตามบริบทขณะนั้น
แล้วส่วนที่เหลือ เช่น Gap analysis Proxy disease เป็นต้น หายไปไหนก็ขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ้งขั้นตอนหรือผลลัพธ์ก็จะย้อนกลับมาหาเอกสารทั้ง 4 นี้ ดังนั้นเอกสารทั้ง 4 คือเครื่องมือสำคัญที่ครอบคลุมพื้นที่การพัฒนาทั้ง 4 ด้านดังที่กล่าวมาแล้ว แต่นั่นต้องเป็นบริบทขณะนั้น คือเป็นปัจจุบัน และต้องมีการเปลี่ยนแปลงอบู่ตลอดเวลา ตามหลักพุทธศาสนาที่ว่า ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็สุดแล้วแต่ แต่แนวคิดของ HA คือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่องและเป็นบริบทของตนเองมิใช่เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบจากผู้ประเมิน เพื่อที่ว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ นี่คือทัศนะของเอกสารคุณภาพ HA ครับ
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เอกสารคุณภาพ… ยาขม ?
พี่ๆน้องๆที่รักงานคุณภาพทุกท่าน สิ่งหนึ่งที่พวกเราชาวคุณภาพ มักจะสยองขวัญคงหนีไม่พ้นเรื่อง เอกสารคุณภาพ ที่นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น QA , LA ,ตระกูล ISO ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ISO 9000 , ISO 15189 และอีกหลายมาตรฐานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ้งมักจะเป็นยาขมสำหรับการบรรลุจุดมุ่งหมายนั่นคือการได้รับการรับรอง เพราะจะเป็นเรื่องการเขียน เขียน แล้วก็เขียน ในบางครั้งอาจจะเขียนมาก บางครั้งก็เขียนน้อยสุดแต่มาตรฐานจะเป็นตัวกำหนด แต่ทว่าการเขียนเอกสารคุณภาพมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ที่สำคัญที่สุดก็คือให้ การทำงานของหน่วยงานนั้น องค์กรนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ต้องมาทะเลาะกันว่าฉันถูก เธอผิด และอีกประการเพื่อจะได้เป็นเอกสารให้น้องใหม่ หรือบุคลากรที่ไม่คุ้นเคยกับหน่วยงานนั้นได้ศึกษาว่าพี่ๆเค้าทำงานกันอย่างไร เพราะในท้ายทีสุดประโยชน์ก็จะตกกับผู้มารับบริการ และพวกเราก็ทำงานด้วยความสบายใจขึ้นครับ ในการนี้ผมได้แนบเอกสารไว้ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆได้ศึกษาตามลิงค์นี้ครับ
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
5 ส พื้นฐานคุณภาพ
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554
นิยามความรัก
การผัดวันประกันพรุ่ง...อย่างชั้นเซียน
จากหลักของกฏ 80/20 เมื่อเราคิดเทียบกับงาน 10 อย่าง เราจะพบว่า มีงาน 2 อย่างที่สำคัญยิ่งที่เราต้องทำก่อน มิเช่นนั้น... แต่อีก 8 อย่างที่เหลือก็มีความสำคัญรองลงมาครับ โดยมี การจัดแบ่งความสำคัญคล้ายกับการจัดแบ่งความสำคัญการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อจัดลำดับการลงมือทำ ดังนี้ครับ
A : งานนี้มีความสำคัญมากๆ มีผลกระทบต่อความสำเร็จของเรา
B : งานที่มีความสำคัญรองมา แต่มีผลกระทบน้อยกว่า A
C : งานที่เราคิดว่าน่าทำ แต่ไม่ทำก็ไม่เป็นไร เช่น การดูทีวี, การอ่านนิตยสารต่างๆ
D : งานที่เราสามารถมอบให้ผู้อื่นไปทำแทน จะได้ไปทำสิ่งที่สำคัญกว่า
E : งานที่ไม่มีความสำคัญใดๆเลย ถ้าไม่ทำก็ไม่มีผลใดๆเลย
เป็นอย่างครับการจัดลำดับคามสำคัญของงงาน เพื่อให้เราชาวพัฒนาคุณภาพได้มีเวลาหายใจหายคอบ้างครับ แต่สิ่งที่เราต้องยึดไว้คือ งานทุกอย่างมีความสำคัญทั้งหมด เพียงแต่ ... ต้องจัดลำดับความสำคัญครับ
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ความคิด…สร้างชีวิต สร้างงาน สร้างองค์กร ภาค 1
ความคิดที่ยึดอยู่กับอัตตา : ความคิดนี้เป็นความคิดที่ค่อนข้างเผด็จการ คือยึดตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจฟังผู้อื่น เอาความคิดเห็นของตนฝ่ายเดียว อันนี้อันตรายเพราะเกิดมาจากบุคคลเพียงคนเดียว ดังนั้นความรอบคอบ ความลุ่มลึกของความคิดในการแก้ปัญหาจึงค่อนข้างน้อย ดังนั้นโอกาสที่จะผิดพลาดจึงเป็นไปได้สูง ผมขอเรียกว่า ความคิดแบบฮิตเล่อร์ครับ
ความคิดแบบยอดภูเขาน้ำแข็ง : ชื่อความคิดนี้ผมตั้งขึ้น เพื่อเปรียบให้เห็นในเรื่องของการแก้ปํญหาต่างๆ ในการใช้ความคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ เราต้องมุ่งไปที่ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่สุดก่อนครับ เพราะในชีวิตของเราต้องเผชิญปัญหามากมาย ซึ้งเราคงไม่สามารถที่จะตามไปแก้ทุกเรี่องในคราวเดียวกัน อย่างนั้นคงเหนื่อยแย่ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าอะไรสำคัญที่สุด เราก็ไปจัดการสิ่งนั้นก่อน ซึ้งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในเรื่องของชีวิต หรือการบริหารจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล
ความคิดแบบตามน้ำไหล : ความคิดนี้คือความคิดที่เห็นคล้อยตามไปกับผู้อื่นทุกเรื่อง ซึ้งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีความคิดเหมือนกัน แต่ไม่กล้าแสดงออก (รักนะไม่แสดงออก) หรือว่าคิดไม่ออก ก็ไม่ทราบ อันนี้คงจะไม่เป็นอะไรมากหรอกครับ แต่เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว พอได้งานออกมา ก็จะมีคำพูดว่า ฉันว่าแล้วมันต้องเป็นอย่างนี้ (ผมอยากคิดในใจดังๆว่า ทำไมไม่พูดในที่ประชุมละครับ)
วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554
RM ภาพสะท้อนความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย
ความเสี่ยงคืออะไร ความเสี่ยง โอกาสที่ผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่/องค์กร/ชุมชนจะจะประสบความสูญเสีย บาดเจ็บ/เหตุร้าย อันตราย/ความสูญเสีย/การฟ้องร้อง หรือเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว
ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยง จึงเป็นแนวทางที่นำมาใช้ไม่เฉพาะแต่ในด้านสาธารณสุขเท่านั้นแต่ในปัจจุบันยังขยายออกไปทั้งในด้านการบริหาร การเงิน การธนาคารเป็นต้น ในภาพรวมการบริหารจัดการความเสี่ยงมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. การค้นหาความเสี่ยง คือการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น ในหน่วยงาน หรือองค์กรของเรา เพื่อนำมาแก้ไข และกำหนดมาตรการในการป้องกันต่อไป
2. การประเมินความเสี่ยง คือการประเมินว่าปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขและวางมาตรการป้องกัน
3.การป้องกัน/แก้ไข คือการกำหนดมาตรการในการป้องกันมิให้ความเสี่ยงหรือปัญหานั้นเกิดขึ้นซำ้อีก
4.การประเมินผลระบบ คือ การประเมินภาพรวมตั้งแต่ การค้นหา การประเมิน การกาป้องกัน ว่ามีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ เพียงพอหรือไม่ ที่สำคัญการประเมินผลระบบต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งที่เราวางมาตรการไปแล้วนั้นสามารถปฏิบัติได้จริง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รับทราบ และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
นี่คือขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอนในการบริหารจัดการความเสี่ยง ในการนี้ผมได้ทำ Powerpoint ภาพรวมการบริหารจัดการความเสี่ยง สามารถศึกษาได้ตามลิงค์ http://cid68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/.ppt ส่วนรายละเอียดจะได้นำเสนอต่อไปครับ หรือถ้าสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ก็ติดต่อที่ E mail : suradet_sri@hotmail.com
วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ความคิดที่ซุกซน
ความคิด..... จะนิ่งได้อย่างไรหนอ
ความคิด..... วิ่งวุ่นไม่รั้งรอ
ความคิด..... หนอ สงบนิ่งทำอย่างไร
ความคิด..... คือศัตรูกับสติ มีสมาธิเกื้อหนุนสติให้
ความคิด..... มลายหายจากไป
ความคิด..... จึงกระจ่างดุจแก้วใสกังวาล เอย
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Death Power point……. !
1. โลกนี้มีเพียงฉัน(ผู้พูด)กับเธอ(คอมพิวเตอร์) : นำเสนอแบบไม่สนใจผู้ฟังรอบข้าง สนใจอย่างเดียวคือหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่นคืออ่านและก็อ่านข้อมูลที่ปรากฏอยู่ที่หน้าจอ พอพูดจบแล้วเงยหน้าขึ้นมาดู ผู้ฟังก็หายไปจากห้องทั้งหมด หรือก็หลับหมด เหลืออยู่อย่างเดียวคือฉันและเธอ นั่นคือเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังบ้างครับ เช่นสบตากันบ้าง ทำมือทำไม้บ้าง อย่างน้อยก็บอกว่าฉันสนใจคุณนะ อยากให้คุณสนใจฉันหน่อย
2.แผ่นPower point มิใช่หน้ากระดาษนิยายความรัก(บรรยายอย่างยืดยาว) : นำเนื้อหาที่เราจะนำเสนอมาเขียนบนแผ่น Power point ทั้งหมด โอ้ลัลล้า อ่านหรือดูตาลายมากๆ ขอยาดมหน่อยครับ พยายามสรุปใจความสำคัญที่เราต้องการนำเสนออาจจะเหลือมากสุดประมาณ 8-10 บรรทัด หรือน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เราจะนำเสนอ ข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจากนี้ก็เล่าผู้ฟังได้รับทราบ อย่าให้แผ่น Power point เป็นผู้เล่าครับ เพราะเราเป็นผู้นำเสนอครับ
3. Special Effect ระดับ Steven Spilberg (พ่อมดแห่งโลกภาพยนต์) : อย่ากระหน่ำแสง สี เสียง ภาพประกอบ และอื่นๆ มากเกินไปครับ เพราะจะทำให้ผู้ฟังของเราจะตื่นตา ตื่นใจ ไปกับแสง สี เสียงที่อลังการของเรา จนเนื้อหาที่เราต้องการดูจืดหรือไม่สนใจไปเลย เพราะ Special Effect กลายเป็นพระเอกไป ดังนั้นทุกอย่างอยู่ที่ความพอดีครับ
4.ขนาดตัวอักษร กล้องส่องทางไกลยังเรียกพี่ : ขนาดหรือตัวอักษรอย่าให้เล็กเกินไปครับ สงสารผู้อาวุโส ที่ท่านมีความตั้งใจที่จะมาฟังเรา เพราะถ้าตัวอักษรของเราเล็กเกินไป ถ้าเนื้อหาฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ยังมีปัญหาเรื่องตัวอักษรอีก ก็คงเอวัง ด้วยประการละฉะนี้ …สาธุ
5.ชั่วชีวิตนี้รักเธอเพียงฉบับเดียว(ข้อมูลการนำเสนอ) :ถ้าเรานำเสนอข้อมูลแล้วใช้ชุดเดียวตลอด ไม่ว่าจะนำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน ตาสี ตาสา เด็กๆ ผลจะเป็นอย่างไรครับ คำตอบคือ ไม่ใคร ก็ใคร คงได้พูดให้เราได้ยินว่า พี่ๆมาจากดาวดวงไหนครับ ผมฟังไม่รู้เรื่องเลย เราก็คงตอบว่ามาจากที่เดียวกับน้องละครับ ดังนั้นแล้วการนำเสนอข้อมูลเรื่องเดียวกัน แต่ผู้ฟังแตกต่างกัน ก็ควรทำ Power point ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เพื่อความน่าสนใจ และติดตามครับ
6.การเตรียมตัวไม่ดี หมดความน่าเชื่อถือ 100% :ผู้บรรยายจำต้องเตรียมความพร้อมในเนื้อหาที่เราจะสื่อสารให้กับผู้ฟังได้รับทราบ นั่นคือต้องแม่นในเนื้อหา มีการเตรียมตัวมาอย่างดี ขจัดความกลัวทุกอย่างให้หมด คิดเสียว่า เราคือผู้รู้มากทีสุดในห้องนั้น และที่สำคัญการแต่งกายต้องสุภาพ เรียบร้อย เพราะนั่นคือบันไดก้าวแรกของความน่าเชื่อถือครับ
เป็นอย่างไรครับ เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ของ Death Power point ลองนำไปศึกษาดูนะครับ แล้วเราจะเป็น พรีเซ็นเตอร์ ได้อย่างแน่นอนครับ
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพ HA
1.คู่มือการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ SPA ตอน I-III :http://www.ha.or.th/ha2010/th/process/index.php?key=processTure&GroupID=80
2.ขุมทรัพย์ความรู้ HA Forum ครั้งที่ 12 :http://www.hamember.com/km_f12/abstract.html
3.เอกสารประกอบการขอรับรองและการประเมิน :http://www.ha.or.th/ha2010/th/process/index.php?key=process&GroupID=76
4. การใช้ Service Profile / Unit Profile :http://cid68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/Success%20with%20Service%20Profile.doc
5.แนวทางการวิเคราะห์ Service Profile ของหน่วยงาน/บริการ/ทีมงานhttp://cid-68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/Guideline%20Service%20Profile%20Analysis.doc
ุ6. ตัวอย่างการเขียนการประเมินตนเอง :https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxxY3RoYWNoYW5nfGd4OjdmY2QxN2QxZDY0MTBkMGQ
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การเก็บและรักษาสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการชันสูตร
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
HA สู่ SHA การพัฒนาที่ยั่งยืน
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ความก้าวหน้าและเกณฑ์การวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM
ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...

-
กระบวนการ 3 P คือกระบวนการที่เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การงาน และการพัฒนาคุณภาพ P ตัวแรกคือ purpose คือการก...
-
ผมคิดว่า ทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Buzz group จากการที่ได้ไปประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีจัดประช...
-
เมื่อเรากล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพ เป้าหมายหลักคือการสร้าง คุณภาพ และความปลอดภัย ให้กับผู้ป่วย ผู้รับบริการ หน่วยงาน องค์กร ชุมชน และต...