วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การวัดรอยเท้าช้าง

       การพัฒนาคุณภาพนอกเหนือจากการที่เราได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองจาก การประเมินตนเอง ตัวชี้วัด มาตรฐานที่กำหนดในแต่ลัวิชาชีพ และอื่นๆ ที่เรานำมาช่วยในการพัฒนาให้ผู้ป่วยได้รับ ความปลอดภัย และได้มาตรฐาน แนวทางหนึ่งที่สามารถที่ช่วยให้เราลัดขั้นตอนในการพัฒนา รวมทั้งเป็นการเปรียบเทียบกับหน่วยงานอื่นที่มีลักษณะของงานที่คล้ายคลึงกับเราว่าตัวเรามีความก้าวหน้าเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่น  สิ่งนั้นคือ วัดรอยเท้าช้าง หรือ Benchmark
      ตำแหน่งที่เราต้องการอ้างอิงหรือเปรียบเทียบจากหน่วยงานที่สามารถปฏิบัติได้เป็นเลิศ  และเราต้องการนำมาปรับเป็นแนวทางในการทำงานของเรา จุดนี้เราเรียกว่า Benchmark หรือรอยเท้าช้าง
      แต่กระบวนการในการหา วิธีการที่สามารถมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ (Best Practices)ที่ทำให้เราจไปถึงจุดที่เราอ้างอิงหรือความเป็นเลิศในการปฏิบัติที่เราต้องการได้นั้นคือ การวัดรอยเท้าช้าง(Benchmarking)  โดยสามารถสรุปแนวทางฺดังต่อไปนี้


ขอขอบคุณ อาจารย์รณินทร์ กิจกล้า ที่เอื้อเฟื้อตาราง


ดังนั้นการวัดรอยเท้าช้างจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำพาเราไปสู่จุดมุ่งหมายได้ แต่ที่สำคัญต้องให้มีความเป็นตัวของตัวเองคือยึดบริบทของตัวเราว่าเป็นเช่นไร นั่นจะทำให้การปฏิบัติของเรามีความสุขและสนุกครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...