วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความคิด…สร้างชีวิต สร้างงาน สร้างองค์กร ภาค 1

     เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราอยู่มาได้ทุกวันนี้ โดยมีชีวิตที่รุ่งเรือง เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีความสุขกับครอบครัว หรือผลลัพธ์ที่ได้ตรงกันข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการคิดของเรา ในฐานที่พอมีประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพมาบ้าง ได้พบ ได้เห็น การแสดงออกซึ้งความคิดของบุคลากรในหลายระดับ ทั้งในรูปแบบการประชุม การดำเนินชีวิต และอื่นๆ ซึ้งสะท้อนออกมาทั้งในด้านความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากความคิดและการตัดสินใจทั้งสิ้น ในแง่การพัฒนาคุณภาพ การแสดงออกซึ้งความคิด หรือความคิดเห็น นับเป็นกลไกสำคัญในการที่จะนำไปสู่ข้อสรุป จากนั้นนำไปสู่การปฏิบัติ และติดตามผล จนท้ายสุดนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาในที่สุด รูปแบบการแสดงออกซึ้งความคิดมีทั้งคูณและโทษในแต่ละรูปแบบ เรามาดูกันนะครับว่ามีอะไรกันบ้างครับ
ความคิดที่ยึดอยู่กับอัตตา : ความคิดนี้เป็นความคิดที่ค่อนข้างเผด็จการ คือยึดตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจฟังผู้อื่น เอาความคิดเห็นของตนฝ่ายเดียว อันนี้อันตรายเพราะเกิดมาจากบุคคลเพียงคนเดียว ดังนั้นความรอบคอบ ความลุ่มลึกของความคิดในการแก้ปัญหาจึงค่อนข้างน้อย ดังนั้นโอกาสที่จะผิดพลาดจึงเป็นไปได้สูง ผมขอเรียกว่า ความคิดแบบฮิตเล่อร์ครับ
ความคิดแบบยอดภูเขาน้ำแข็ง : ชื่อความคิดนี้ผมตั้งขึ้น เพื่อเปรียบให้เห็นในเรื่องของการแก้ปํญหาต่างๆ ในการใช้ความคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ เราต้องมุ่งไปที่ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่สุดก่อนครับ เพราะในชีวิตของเราต้องเผชิญปัญหามากมาย ซึ้งเราคงไม่สามารถที่จะตามไปแก้ทุกเรี่องในคราวเดียวกัน อย่างนั้นคงเหนื่อยแย่ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าอะไรสำคัญที่สุด เราก็ไปจัดการสิ่งนั้นก่อน ซึ้งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในเรื่องของชีวิต หรือการบริหารจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล
ความคิดแบบตามน้ำไหล : ความคิดนี้คือความคิดที่เห็นคล้อยตามไปกับผู้อื่นทุกเรื่อง ซึ้งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีความคิดเหมือนกัน แต่ไม่กล้าแสดงออก (รักนะไม่แสดงออก)  หรือว่าคิดไม่ออก ก็ไม่ทราบ อันนี้คงจะไม่เป็นอะไรมากหรอกครับ แต่เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว พอได้งานออกมา ก็จะมีคำพูดว่า ฉันว่าแล้วมันต้องเป็นอย่างนี้ (ผมอยากคิดในใจดังๆว่า ทำไมไม่พูดในที่ประชุมละครับ)
และอื่นๆ
ยังมีอีกความคิดหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอให้พี่ๆน้องๆ ได้รับทราบ นั่นคือ ความคิดคู่ขนาน อะไรคือความคิดคู่ขนาน ความคิดคู่ขนาน ถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็คือ การใช้ความคิดแบบรอบด้าน ไม่มองที่จุดใดจุดหนึ่ง เพียงอย่างเดียว คือไม่รับฟังความคิดเพียงด้านเดียว บุคคลเดียว จุดจุดเดียว หรือปล่อยให้บุคคลที่ร่วมประชุมไม่ออกความคิดเห็น แต่จะให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็นร่วมกัน คิดรอบด้าน โดยคิดที่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น โดยมีการนำแนวความคิดที่ลือลั่นสะท้านวงการคือ หมวก 6 ใบ 6 สี มาเป็นผู้ช่วยในการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น หรือการประชุม แต่นั่นต้องคอยพบกับ ความคิด…สร้างงาน สร้างชีวิต สร้างองค์กร ภาค 2 ครับผม
CVHealth_good

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...