วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น
1. ทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้ว และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น ( เกิดความเสี่ยงแล้วนำมาสู่การแก้ไข กำหนดมาตรการการป้องกัน )
2. กับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และนำมาสู่การกำหนดมาตรการการป้องกันล่วงหน้า ( ความเสี่ยงที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่เรากำหนดมาตรการการป้องกันล่วงหน้า )
เพราะสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การกำหนดกำหนดกลยุทธ์ กำหนดแผนปฏิบัติการในองค์กรหรือในหน่วยงานที่จะนำไปพัฒนาไปข้างหน้าว่าเราจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ผู้รับบริการ ตัวเรา หน่วยงาน องค์กร และชุมชน และที่สำคัญเราสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใดจากข้อมูลความเสี่ยงที่เรามีอยู่ทั้งที่เกิดขึ้น และการคาดการณ์ของเราเอง.... !
ผมคิดว่าคงไม่มีอาจารย์ท่านใดไม่รู้จักโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia ซึ้ง ซึ้งเป็นที่นิยมอย่างมาก และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแบรนด์อันดับ 1 ของผู้ใช้มือถือในสมัยก่อน แต่ทว่าในระยะหลังก็เกิดเหตุการณ์บางอย่าง อย่างที่เราทุกคนทราบกัน แต่ทว่าก็เกิดบทเรียนอันทรงคุณค่าที่ทาง Nokia ได้มอบให้กับเราได้ชวนคิดดังนี้ครับ


1. ถ้าคุณหยุดการเรียนรู้ คุณก็จะตามคนอื่นไม่ทัน : ถ้าจะกล่าวว่าเป็นสัจธรรมก็ไม่ผิดนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปััจุบันที่ข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ที่สามารถหาได้ง่ายมากๆ การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการเรียนรู้อย่างหนึ่งครับ และเป็นการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแก้ไข การปรับปรุง การพัฒนา และกำหนดมาตรการในการป้องกันให้มีคุณภาพ และความปลอดภัยมากขึ้น การที่เรามีความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้วไม่นำมาสู่การเรียนรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นความไม่ปลอดภัยที่ยังแฝงอยู่ในระบบ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เมื่อไม่แก้ไข ไม่เรียนรู้บ่อยๆ และเกิดความเสี่ยงซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าแต่เราไม่ให้ความสนใจ คำว่าคุณภาพ และความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เมื่อเทียบกับองค์กรอื่นที่มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเราลงลึกเข้าไปในระบบของเขาจะพบว่าเขาไม่ละเลยต่อความเสี่ยงที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นแล้วหรือยังไม่เกิดเขาเห็นเป็นโอกาสในการพัฒนาด้วยกันทั้งสิ้น เพราะเขาเชื่อว่า ความเสี่ยง มาตรฐาน ความปลอดภัยคือเรื่องราวเดียวกัน เมื่อเราเรียนรู้ที่จะลดความเสี่ยงลงได้ มาตรฐานและความปลอดภัยย่อมเกิดขึ้นตามมา



2.โลกมันเปลี่ยนไปเร็วมาก และจะเร็วกว่าที่คุณคาดไว้เยอะห้ามหยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ: ปัจจุบันโลกใบนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร และองค์ความรู้ ตลอดจนความคาดหวังของผู้รับบริการหรือผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในเรื่องของความเสี่ยงการที่เราจะก้าวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น หัวใจสำคัญที่สุดคือการที่เราได้รับรู้ข้อมูลความเสี่ยงที่มีความครอบคลุม และมีความหลากหลาย เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุ และกำหนดมาตรการในการป้องกัน แก้ไขให้เกิดคำว่ามาตรฐาน และความปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดช่องทางหรือวิธีการในการค้นหาความเสี่ยงทั้งเชิงรุก และเชิงรับ เพื่อให้เกิดความครอบคลุม และเห็นโอกาสในการพัฒนาเพื่อให้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพราะอย่าลืมว่า " ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้นที่เราหามาได้จากช่องทางต่างๆ ต้องนำไปกำหนดเป็นแผนกลยุทธ์ในระดับองค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาในเรื่องมาตรฐาน และความปลอดภัย และสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ทัน " ครับ


3. อย่ายึดติดกับความสำเร็จของเมื่อวาน เพราะความสำเร็จเมื่อวันวาน จะถูกแทนที่ด้วยเทรนด์ใหม่ของวันพรุ่งนี้ : อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่าการบริหารจัดการความเสี่ยงคือการบริหารการเปลี่ยนแปลง คือการพัฒนาจากโอกาสในการพัฒนาที่เราค้นพบ นำไปสู่การพัฒนาให้ดีขึ้น ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เราควรฉุกคิดก็คือ " อย่าคิดว่าหน่วยงานตนเอง องค์กรตนเองดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ไม่มีความเสี่ยง หรือไม่มีโอกาสในการพัฒนา " ซึ้งไม่เป็นความจริง เพราะแท้ที่จริงเรามีโอกาสในการพัฒนาแฝงอยู่ในระบบ อยู่ในกระบวนการการทำงานของเราเสมอ เพียงแต่ให้เรา เปิดใจให้กว้าง ยอมรับ สร้างความตระหนัก มองไปข้างหน้า ทบทวน เฝ้าค้นหา จุดที่จะเกิดความเสี่ยง และนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง เรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ นั่นคือมีการเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไมาหยุดนิ่งอยู่กับที่ ไม่พึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ นั่นคือนอกจากมีการแก้ไข ป้องกันแล้ว ยังมีการนำความเสี่ยงที่เกิดขึ้นมาพัฒนาในรูปแบบ CQI, นวัตกรรม, R2R เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นมีความยั่งยืน ต่อเนื่อง และดียิ่งขึ้น
4. แม้คุณจะไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ถ้าคู่แข่งเขาก้าวล้ำไปกว่าคุณ และถูกใจผู้บริโภคมากกว่า แล้วคุณไม่รีบปรับตัว คุณก็จะโดนเขี่ยออกจากตลาดในที่สุด : ถ้าเรามามองในประเด็นการบริหารจัดการความเสี่ยง เราค้นหาความเสี่ยงเชิงรุก หรือเชิงรับมากกว่ากัน เราอาศัยการรายงานความเสี่ยงมากกว่าการเฝ้าระวังไปข้างหน้าหรือไม่ เหล่านี้คือประเด็นคำถามที่เราควรฉุกคิด เพราะแท้จริงการบริหารจัดการความเสี่ยงคือการบริหารโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง หาใช่การตั้งรับคือการรอให้เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงนำมาสู่การแก้ไข หรือการกำหนดมาตรการในการป้องกัน การที่เราไม่รอให้ความเสี่ยงเกิดขึ้น แต่หันกลับมาใช้การเฝ้าระวังไปข้างหน้าด้วยการวิเคราะห์ว่ากระบวนการ หรือการทำงานของเราว่าจะมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงอะไรขึ้นบ้าง แล้วเราจะมาช่วยกันป้องกันกันอย่างไร ความปลอดภัยและคุณภาพย่อมเกิดขึ้นมากกว่า ซึ้งถ้าเชิงเทคนิคคือการใช้เครื่องมือ FMEA mode หรือ Failure mode effect analysis ที่ทางธุรกิจการบิน หรือโรงไฟ้านิวเคลียส์นำมาปรับใช้จนเห็นผลของการพัฒนา นี่คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้เราสามารถคาดการณ์ไปถึงอนาคตว่าเราจะทำให้องค์กรของเรา หน่วยงานของเรา มีความปลอดภัย มีคุณภาพ มีมาตรฐานที่จะส่งมอบให้กับผู้ป่วย ผู้รับบริการได้มากน้อยเพียงใด และเพิ่มมากขึ้นหรือไม่


5. กลยุทธ์หรือแผนการที่คุณมีในวันนี้ ไม่ได้แปลว่ามันจะเปลี่ยนไม่ได้อะไรที่ควรปรับ เราต้องปรับ เพื่อให้ทันกับกระแสโลก :ในการบริหารจัดการความเสี่ยงนั้น การที่เราสามารถรับรู้ได้ว่าสิ่งที่เราพัฒนา สิ่งที่เราปฏิบัติอยู่ หรือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หรือมีโอกาสที่จะไม่บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เครื่องมือสำคัญชิ้นหนึ่งคือ การเรียนรู้ และการประเมินผล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง หรือแก้ไขกระบวนการต่างๆให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั่นคือ
5.1 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในองค์กรของเราย่อมมีการเปลี่ยนแปลง นั่นคือจะมีประเด็นความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงสำคัญ ปัญหาสำคัญ เรารับรู้แล้วหรือไม่ ว่าในขณะนี้อะไรคือความเสี่ยงสำคัญ ปัญหาสำคัญที่เราเผชิญอยู่เช่น 5 อันดับ หรือ 10 อันดับของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในหน่วยงาน หรือองค์กร เราได้รับรู้หรือไม่ และจะจัดการอย่างไร
5.2 กระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานมีความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงหรือไม่ ดังนั้นเราหมั่นประเมินกระบวนการเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น , องค์ความรู้หรือ Best Practice ใหม่ๆที่เกิดขึ้น ,การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่เป็นไปตาม CPG หรือ Guideline หรือไม่ เป็นต้น
5.3 ตัวชี้วัดที่เกิดขึ้น เราได้ประเมินกันมากน้อยเพียงใด การที่ตัวชี้วัดตก หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เราควรหมั่นทบทวนตัวชี้วัดตามรอบระยะเวลาที่กำหนดเช่น 1,3,6,12 เดือน เพื่อจะได้ปรับกระบวนการหรือพัฒนาให้ทัน และดียิ่งขึ้น
5.4 แต่ในท้ายที่สุดพบว่าตัววิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเช่น จับต้องไม่ได้ คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไม่สะท้อนภาพต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน หรือบริบท ถ้าถึงจุดนี้ก็ต้องช่วยกันคิดว่าสมควรไหมที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้การพัฒนาทั้งในเรื่องคุณภาพ และความปลอดภัยสอดคล้องกับความเป็นจริง และจับต้องได้



    ดังนั้น บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia ที่สอนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยงให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั่นคือ
  • ถ้าเราสามารถลดความเสี่ยงในองค์กรของเราลงได้คุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยย่อมเกิดขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการค้นหาและรายงานอย่างสม่ำเสมอ และนำสู่การปรับปรุง
  • เราต้องมีความหลากหลายวิธีการในค้นหาความเสี่ยงทั้งเชิงรุก และเชิงรับเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องคุณภาพ และความปลอดภัยได้
  •  ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นต้องหมั่นนำมาสู่การค้นหาสาเหตุ และนำมาสู่การเรียนรู้ และปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข การกำหนดมาตรการในการป้องกัน, นวัตกรรมม CQI, R2R เป้นต้น
  • นึกเสมอว่าเราจะทำอย่างไรให้สามารถรับรู้ความเสี่ยงที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในกระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานของเรา และนำมาสู่การป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น มากกว่าที่เราจะตั้งรับคือรอให้เกิดขึ้น แล้วค่อยมาแก้ไขและป้องกัน
  • หมั่นเรียนรู้ ติดตาม และประเมินผลอยู่อย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ,มาตรการการแก้ไข ป้องกัน ,ตัวชี้วัด หรือแม้แต่เป้าหมาย และกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้การพัฒนา การสร้างความปลอดภัยสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ถ้าเราชวนกันคิด ชวนกันคุยเราจะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วเพียงใดครับ
โดย สุรเดช ศรีอังกูร ( Suradet Sriangkoon )

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

เราพัฒนาคุณภาพเพื่อใคร...ในแนวคิดการบริหารจัดการความเสี่ยง



     เมื่อเรากล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพ เป้าหมายหลักคือการสร้างคุณภาพ และความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย ผู้รับบริการ หน่วยงาน องค์กร ชุมชน และตนเอง นี่คือเป้าหมายหลักที่สร้างความยั่งยืนให้กับกระบวนการการพัฒนาคุณภาพ แต่ทว่าการพัฒนาคุณภาพทุกวันนี้ เราอาจต้องย้อนกลับมาถามตนเองว่า ทุกวันนี้เราให้บริการแก่ผู้รับบริการ/การพัฒนาคุณภาพให้กับใคร...? ตัวของเรา หรือ ผู้ป่วย คำถามแบบนี้อาจจะดูแรงครับ แต่ทว่าก็สามารถพอจะช่วยกระตุกให้เรากลับมามองตนเองว่า เรากำลังพัฒนาคุณภาพเพื่อใคร แนวคิดหลักของการพัฒนาคุณภาพ HA หนึ่งในสามข้อที่สำคัญ คือ การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นั่นหมายความว่าเวลาที่เราจะพัฒนาคุณภาพ หรือจัดกระบวนการการดูแลผู้ป่วย เราต้องมองไปที่ผู้ป่วยว่าสิ่งที่เรากำลังลงมือทำนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการ และความคาดหวังของผู้ป่วยหรือไม่ โดยยึดหลักในสิ่งที่เป็นไปได้ และได้ตามมาตรฐาน ตามบริบทที่เราเป็น นั่นคือ บริบทที่เป็น
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • โรงพยาบาลชุมชน
  • โรงพยาบาลทั่วไป
  • โรงพยาบาลศูนย์
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

ซึ้งแต่ละองค์กรก็มีบทบาท และศักยภาพที่แตกต่างกันในการให้การดูแลหรือให้บริการผู้ป่วย แต่ทว่าในแต่ละที่นั้นต่างมีจุดร่วมกันที่บ่งบอกว่าเรากำลังพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยนั่นคือ
  • ความเสี่ยงสำคัญ ปัญหาสำคัญได้รับการแก้ไขให้เกิดมาตรการในการแก้ไข หรือปรับปรุงกระบวนการการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือการใช้แนวคิด HFE หรือ Human Factor Engineering (ก่ารปรับสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน) การนำแนวคิดการสร้าง CQI หรือ นวัตกรรมมาเป็นตัวช่วยในการพัฒนา มากกว่าที่เราจะใช้คำว่า " ทบทวน ทบทวน และทบทวน " ซึ้งไม่สามารถจับต้องได้ และมองไม่เห็นความยั่งยืน 
  • เรามีแนวคิดในการแก้ไขปัญหา หรือความเสี่ยงอย่างไร เราแก้ไขที่ตัวบบุคคล หรือแก้ไขที่ระบบ ถ้าเราแก้ไขที่ระบบ เราจะมองเห็นโอกาสพัฒนามากมาย และที่สำคัญเราได้รับรู้ว่าแท้จริงสิ่งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่เราต้องให้ความสำคัญกับระบบมากกว่าตัวบุคคลในการแก้ไขความเสี่ยงหรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเรามองที่ตัวบบุคคล (ซึ้งเป็นวิธีที่ง่ายกว่า และคิดว่าสามารถแก้ไขปัญหาหรือความเสี่ยงได้ ) นั่นคือเรากำลังพัฒนาคุณภาพเพื่อตัวเรา มิใช่เพื่อผู้รับบริการ
  • เราค้นหาความเสี่ยงเชิงรุกกันมากน้อยเพียงใด เช่น การเดิน Round ,การทำ 12 กิจกรรมทบทวน , Safety Brief , Leadership Walk round เป็นต้น เหล่านี้คือแนวคิดของการค้นหาความเชิงรุก มากกว่าที่เราจะคอยตั้งรับคือใบรายงานเหตุการณ์ หรือ Incident report ความเสี่ยงเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่สร้างผลกระทบให้ผู้ป่วย ผู้รับบริการไปแล้วก็ขึ้นกับว่ามีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด
  • การทำ 12 กิจกรรมทบทวนคือเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้เราสามารถดักจับปัญหา หรือความเสี่ยงที่ไม่ว่าจะอยู่ขั้นไหน 1,2,3 หรือมากกว่า การทำ 12 กิจกรรมยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตามบริบท ตามสภาพที่เป็นจริงขององค์กรนั้นๆ ลองย้อนกลับถามตนเองดูครับว่าเราทำ 12 กิจกรรมทบทวนกันบ่อยเพียงใด ถ้าตอบว่าเราทำกันอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นั่นคือเรากำลังทำเพื่อผู้ป่วยของเราครับ
  • มิติคุณภาพ ต่างๆ ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึง ความปลอดภัย การดูแลต่อเนื่อง และอื่นๆนั้น เวลาที่จะกำหนดกระบวนการ หรือแก้ไขกระบวนในการดูแลผู้ป่วย เรานำมิติคุณภาพมาช่วยในการกำหนดสิ่งที่เราจะพัฒนาให้ชัดเจนมากขึ้นหรือไม่ ลองถามตนเองดูครับว่าเราได้นำมาใช้บ่อย หรือมากน้อยเพียงใด...?
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆที่แสดงให้เห็นสิ่งที่เรากำลังทำ หรือกำลังพัฒนานั้นเพื่อใคร เพื่อตัวเราหรือเพื่อผู้ป่วย ผู้รับบริการครับ
โดย สุรเดช ศรีอังกูร ( Suradet Sriangkoon)


วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Buzz group เสียงพึมพำ/เสียงเล่าลือสู่การเปลี่ยนแปลง

          ผมคิดว่า ทุกท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า Buzz group จากการที่ได้ไปประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีจัดประชุม หรืออบรม และเมื่อมีการทำกิจกรรมกลุ่ม ก็จะได้ยินว่า " อาจารย์ทุกๆท่าน Buzz group " ในประเด็นนี้กันครับ/ค่ะ แล้ว Buzz group คืออะไร ทำไมต้องทำ Buzz group แล้ว Buzz group มีประโยชน์อย่างไร ดังนั้นเรามา Buzz group กันเถอะครับ


Buzz Group : กระบวนกลุ่มรูปแบบหนึ่ง (กลุ่มเล็กๆ) ที่เปิดโอกาส และกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในกลุ่ม ให้สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ของแต่ละคนอย่างอิสระ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และได้ข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือต่้องการหาคำตอบในประเด็นที่สนใจ ในช่วงเวลาที่กำหนดให้ (ปกติใช้เวลาสั้นๆประมาณ 5-10 นาที )

Buzz Group สามารถทำได้ดังนี้



  • แบ่งกลุ่มโดยในแต่ละกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 2,3,4,5 แล้วแต่จำนวนผู้เข้าร่วมอภิปราย และนั่งล้อมวง
  • กำหนดประเด็นหัวข้อที่เราจะดำเนินการอภิปรายให้ชัดเจน และให้เวลาประมาณ 5-10 นาทีในการอภิปราย
  • ให้อิสระแก่ผู้ที่อภิปรายในแต่ละกลุ่ม ในการแสดงความคิดเห็น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ( Facilitator ) ไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือชี้นำในเรื่องที่กำลังพูดคุย เพียงทำหน้าที่กระตุ้น หรือให้ข้อแนะนำยามที่กลุ่มร้องขอ
  • เมื่ออภิปรายเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปรายที่ได้ร่วมกันให้ข้อคิดเห็น และส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มมานำเสนอให้กับที่ประชุมได้รับทราบ
  • ผู้สอนหรือวิทยากรสรุปบทเรียนจากแต่ละกลุ่มที่นำเสนอมา อาจมีการเพิ่มเติมองค์ความรู้ และเน้นย้ำในประเด็นที่เราได้ทำ Buzz group กัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และต่อยอดได้
Buzz Group  มีประโยชน์อย่างไร

  • เพื่อกระตุ้นผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนได้แสดงความคิด แสดงความเห็น ความรู้ของตน
  • เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสำคัญๆ อย่างกว้างขวาง
  • ใช้เวลาในการอภิปรายน้อยกว่าการอภิปรายกันทั้งห้องประชุม และเกิดปัญหาน้อยกว่า
  • เปิดโอกาสให้ผู้สอน วิทยากรสามารถกระตุ้นให้เกิดการถามตอบกันได้ง่ายของกลุ่มที่มีท่าทีเฉยๆ หรือยังไม่ให้ความร่วมมือ
  • สามารถสร้างความคิด สร้างความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และต่อยอดโดยใช้เวลาไม่นาน
  • ผึกให้ผู้เรียนยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น และรู้จักวิเคราะห์ กล้าคิด กล้าพูด และกล้าตัดสินใจ
  • ผู้เรียนได้รับความรู้โดยตรงจากประสบการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละกลุ่มได้ถ่ายทอดออกมา
Buzz Group  มีข้อไม่ดีอย่างไร

  • ผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นออกมา ซึ้งผู้ดำเนินการอภิปรายหรือวิทยากรควรหมั่นสังเกต เพื่อเข้าไปกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา
  • การให้เวลาในการแสดงความคิดเห็นใช้เวลาเพียงสั้นๆ อาจทำให้ผู้ร่วมอภิปรายไม่แสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครบทุกคน
  • ผู้เข้าร่วมในการอภิปรายต้องมีการเตรียมตัว เตรียมความรู้ที่จะเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น เพื่อสามารถให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นได้ นั่นคือเป็นผู้ปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
Buzz Group มีอะไรบ้างที่เป็นข้อควรระวัง

  • ประเด็นที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนควรประเด็นที่มีความชัดเจน
  • ควรรักษาเวลาให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ( 5-10 นาที )
  • เน้นย้ำให้กลุ่มจดประเด็นสำคัญที่มีการพูดคุย เพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุมต่อไป
  • ควรเปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆสามารถร่วมพูดคุย และอภิปรายได้อย่างทั่วถึง
  • ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละท่านควรนำ ข้อมูล ความรู้ที่เกิดขึ้นในกลุ่ม/ที่ประชุม นำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุง และพัฒนากระบวนการการทำงานของตน ตามบริบทที่เกิดขึ้น
ดังนั้น Buzz Group แม้ว่าจะเป็นการบ่นพึมพำกันในที่ประชุม แต่ทว่ากลับเป็นสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมประชุมโดยตรง ที่เกิดจากการถ่ายทอดประสบการณ์ของแต่ละคน และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แม้จะใช้เวลาสั้นๆ แต่กลับทำให้เราได้รู้ว่าเราจะกลับไปปรับปรุง เปลี่ยนแปลงงานที่เราทำอย่างไรจากสิ่งที่เราได้เรียนเรียนรู้ ...... หึ่ง หึ่ง หึ่ง นั่นเสียงอะไร คือเสียง Buzz Group ครับ

โดย สุรเดช ศรีอังกูร ( Suradet Sriangkoon )






วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

7 แนวคิดการสร้างสรรค์ สู่คุณภาพที่ยั่งยืน




จงยึดเป็นผู้รับบริการศูนย์กลางในการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

สร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้น

กำหนด 5 W 1H ให้ชัดเจนก่อนสู่การปฏิบัติ

การสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น จงลงมือทำทันที 

เรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าล้มเหลวหรือสำเร็จ

เมื่อมีเสียงสะท้อนจากผู้รับบริการ จงฟัง

เราทุกคนคือผู้ร่วมในการสร้างสรรค์นั้น


Pareto’s Principle : กฎ 80/20


Pareto’s Principle หรือ กฎ 80/20  คือการลงมือทำสิ่งที่สำคัญ
มากกว่าที่จะลงมือทำสิ่งที่ไม่สำคัญ "

     นี่คือคำนิยามอย่างง่ายๆ ของกฎนี้ การที่เราจะพัฒนาคุณภาพไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเอง องค์กร หรือทีม สิ่งสำคัญที่สุดคือ บริบท หรือสถานการณ์ที่สำคัญ เหตุด่วน เหตุร้าย หรือสิ่งที่เป็นปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ เราต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถพัฒนาคุณภาพได้หมดทุกอย่าง หรือแม้แต่ปัญหา/ความเสี่ยงที่เราเผชิญอยู่ในตอนนี้เราก็ไม่สามารถจัดการได้ทั้งหมด เนื่องด้วยกำลังทรัพย์ ทรัพยากร เครื่องมือ และกำลังคนไม่เพียงพอที่จะทำได้  กฎ 80/20 จึงมีเข้ามาช่วยในการจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดเป้าหมายเพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาต่อไป ตัวอย่างการพัฒนาคุณภาพที่ใช้แนวคิดกฎ 80/20 มาประยุกต์ใช้

@ การกำหนดเข็มมุ่ง (Hoshin Kanri) ในการพัฒนาคุณภาพในองค์กร เช่น ด้วยบริบทเป็นโรงพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ จึงกำหนดเข็มมุ่งว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มโรคเรื้อรัง (DM,HT) เพื่อการพัฒนา

@ การจัดลำดับความรุนแรง/ความถี่ของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อการแก้ไข และกำหนดมาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ ตามลำดับความสำคัญ

@ การจัดสรรงบประมาณในองค์กรตามลำดับ ตามความสำคัญ และความจำเป็นในการให้บริการ และการพัฒนาในแต่ละปี เป็นต้น

แต่ทว่าอีก 80 ที่เหลือก็มิใช่ว่าเราจะไม่ให้ความสำคัญ ไว้มีแรง มีกำลัง มีทรัพยากรเพียงพอ หรือเป้าหมาย และความเสี่ยงสำคัญได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขแล้ว ก็ลงมือพัฒนา และปรับปรุงตามลำดับครับ

จงใช้ความพยายามเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง 20% เพื่อให้ 20% นี้ สร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างผลลัพธ์ให้ได้ 80% หรือมากกว่า และเป็นแรงกระเพื่อมให้กับกระบวนการต่อไป

Vilfredo Pareto ผู้ให้กำเนิดกฎ 80/20













วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วงจรความสุขในการพัฒนาคุณภาพ

วงจรวงจรความสุขในการพัฒนาคุณภาพ


เป้าหมายชัด


มุ่งมั่นพัฒนา


เก็บเกี่ยวผลลัพธ์


ชื่นชมความสำเร็จ


บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...