วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอกสารคุณภาพ… ยาขม ? (ภาค HA)

            ในบทความที่แล้ว ผมได้สรุปประเด็นเอกสารคุณภาพในส่วนของมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ต้องมีการจัดทำเอกสารคุณภาพเพื่อรองรับทั้งในส่วนการปฏิบัติงานและการได้รับการรับรอง แต่ในปัจจุบันในภาพรวมขององค์กร หรือโรงพยาบาล มาตรฐานที่มุ่งเน้น คือการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล หรือ        HA … ฮา ฮา ฮา ซึ้งแนวความคิดก็คือ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และมีการทำงานเป็นทีม โดยมุ่งในเรื่องมาตรฐาน ความปลอดภัย รวมถึงเรื่องจิตวิญญาณหรือหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ในการให้บริการ คำถามที่มักจะมีข้อสงสัยเสมอมาคือ HA เน้นเอกสารหรือไม่ ในทัศนะของผม คิดว่าการมีเอกสารนั้นมีไว้เป็นการดีไม่ว่าจะเป็นระเบียบปฏิบัติ วิธีปฏิบัติงานเป็นต้น เพราะจะทำให้การปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันความผิดพลาด แต่อย่ายึดติด การไม่ยึดติดคือการที่เรานำเอกสารเหล่านั้นมาป็นเครื่องมือในการพัฒนากระบวนการในการทำงานมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตามบริบทในขณะนั้น มิใช่เขียนเพื่อให้ผู้ประเมินมาตรวจสอบ พอตรวจสอบเสร็จก็เก็บไว้ในตู้เหมือนเดิม แต่โดยแก่นของเอกสารที่จะนำเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพ HA มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด ตามวงล้อของการพัฒนาคุณภาพคือ
1. Hospital profile,Hospital mini profile (องค์กร) เป็นภาพรวมการบริหารจัดการ และการดำเนินการคุณภาพขององค์กร หรือโรงพยาบาลตามบริบทขณะนั้น


2, SA (Self assesment) หรือแบบประเมินตนเองตาม SPA ตอนที่ I-IV (ทีมคล่อมสายงาน,การประเมินผลลัพธ์) สิ่งนี้คือการเขียนประเมินระบบของทีม  คล่อมสายงานทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น RM IC ENV HRD เป็นต้น ว่ามีการพัฒนาคุณภาพไปถึงไหนแล้วจุดแข็ง จุดอ่อนเป็นอย่างไรและจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างไร ตามบริบทขณะนั้น


3. Service profile (หน่วยงาน) เป็นแบบประเมินที่หน่วยงานต่างๆเรียบเรียงเพื่อติดตามความก้าวหน้า และติดตามผลลัพธ์ในการปฏิบัติงาน ตามบริบทขณะนั้น


4. Clinical Tracer (กลุ่มโรคต่าง) เป็นลายแทงขุมทรัพย์ของกลุ่มโรคว่าเส้นทางในการพัฒนาคุณภาพใน ปัจจุบันเป็นอย่าง และอนาคตจะทำให้ดีขึ้นได้อย่างไน ตามบริบทขณะนั้น
             แล้วส่วนที่เหลือ เช่น Gap analysis Proxy disease เป็นต้น หายไปไหนก็ขอบอกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา ซึ้งขั้นตอนหรือผลลัพธ์ก็จะย้อนกลับมาหาเอกสารทั้ง 4 นี้ ดังนั้นเอกสารทั้ง 4 คือเครื่องมือสำคัญที่ครอบคลุมพื้นที่การพัฒนาทั้ง 4 ด้านดังที่กล่าวมาแล้ว แต่นั่นต้องเป็นบริบทขณะนั้น คือเป็นปัจจุบัน และต้องมีการเปลี่ยนแปลงอบู่ตลอดเวลา ตามหลักพุทธศาสนาที่ว่า ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นหรือแย่ลงก็สุดแล้วแต่ แต่แนวคิดของ HA  คือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่องและเป็นบริบทของตนเองมิใช่เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบจากผู้ประเมิน   เพื่อที่ว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และด้วยหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ นี่คือทัศนะของเอกสารคุณภาพ HA  ครับ
a1_24

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอกสารคุณภาพ… ยาขม ?

      พี่ๆน้องๆที่รักงานคุณภาพทุกท่าน สิ่งหนึ่งที่พวกเราชาวคุณภาพ มักจะสยองขวัญคงหนีไม่พ้นเรื่อง เอกสารคุณภาพ ที่นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น QA , LA ,ตระกูล ISO ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ISO 9000 , ISO 15189 และอีกหลายมาตรฐานที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ้งมักจะเป็นยาขมสำหรับการบรรลุจุดมุ่งหมายนั่นคือการได้รับการรับรอง เพราะจะเป็นเรื่องการเขียน เขียน แล้วก็เขียน  ในบางครั้งอาจจะเขียนมาก บางครั้งก็เขียนน้อยสุดแต่มาตรฐานจะเป็นตัวกำหนด แต่ทว่าการเขียนเอกสารคุณภาพมีประโยชน์เป็นอย่างมาก ที่สำคัญที่สุดก็คือให้ การทำงานของหน่วยงานนั้น องค์กรนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ต้องมาทะเลาะกันว่าฉันถูก เธอผิด และอีกประการเพื่อจะได้เป็นเอกสารให้น้องใหม่ หรือบุคลากรที่ไม่คุ้นเคยกับหน่วยงานนั้นได้ศึกษาว่าพี่ๆเค้าทำงานกันอย่างไร เพราะในท้ายทีสุดประโยชน์ก็จะตกกับผู้มารับบริการ และพวกเราก็ทำงานด้วยความสบายใจขึ้นครับ ในการนี้ผมได้แนบเอกสารไว้ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆได้ศึกษาตามลิงค์นี้ครับ

 เอกสารคุณภาพ

paperless3

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

5 ส พื้นฐานคุณภาพ

ผมเชื่อว่าการพัฒนาคุณภาพพื้นฐานที่สุดคงหนีไม่พ้นการทำ 5 ส แต่การที่มีลักษณะพื้นฐานอาจกลับกลายเป็นเรื่องยากที่สุด เพราะการทำ 5 ส คือการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องอย่างหนึ่ง นั่นคือต้องมีการทำอย่าวต่อเนื่อง และจริงจังจึงจะประสบความสำเร็จ ซึ้งผมเชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่าเมื่อทำ 5 ส สำเร็จ จุดนี้จะกลายเป็นการพัฒนาในขั้นต่อไป อันนำไปสู่การพัฒนาในระดับสูงต่อไป แล้ว 5 ส คืออะไร ผมทราบว่าหลายท่านอาจทราบคำตอบแล้ว เรามาดูกันอีกสักนิดว่ามันมีอะไรบ้างครับ

1.ส แรก คือ สะสาง : ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากสิ่งที่จำเป็น และนำออกไป

   จุดสำคัญ   มีแต่สิ่งของที่เราจำเป็นต้องใช้อยู่ในพื้นที่ทำงาน 

2.ส สอง คือ สะดวก : เป็นการจัดวางวัสดุอุปกรณ์ต่างในที่ทำงานของรเา ได้อย่างมีระบบและระเบียบ หยิบฉวยง่าย

    จุดสำคัญ   มีสถานที่ในการเก็บข้าวของ และของทุกชิ้นมีที่อยู่ของมัน

3.ส สาม คือ สะอาด : สิ่งนี้มีความหมายในตัวเองอยู่แล้ว นั่นคือความสะอาด

    จุดสำคัญ   สิ่งของต่างได้รับการตรวจสอบ โดยอาศัยช่วงเวลาทำความสะอาด

4.ส สี่ คือ สุขลักษณะ : การรักษาสภาพแวดล้อมต่างให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย และ 
 ธำรงค์รักษา  3 ส แรก ไว้ให้ยั่งยืน

    จุดสำคัญ   พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และรักษาระบบให้ยั่งยืน

5.ส ห้า คือ สร้างนิสัย : ให้ระะบบ 5 ส อยู่ในใจของทุกคน ซึ้งเป็นขั้นตอนที่ปราบเซียนครับ

     จุดสำคัญ   มีความรู้สึกที่ดีต่อการทำ 5 ส

อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า 5 ส เป็นพื้นฐานในการพัฒนา และง่ายต่อการปฏิบัติ แต่จะยากในการทำให้ระบบมีความยั่งยืน จึงเป็นโจทย์ที่หน่วยงานต้องนำไปดำเนินการในการนำพาให้ระบบ 5 ส มีความยั่งยืน



วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นิยามความรัก

ความรักคืออะไร

ความรักคือ    การที่เราได้รักคนที่เรารัก
ความรักคือ    การที่รักทุกสิ่งไม่เว้นแม้แต่ตัวเรา
ความรักคือ    การที่เราให้อภัยกับคนทุกคนที่ทำไม่ดีกับเรา
ความรักคือ    การที่เราให้อภัยกับคนที่เรารักแม้จะทำผิดพลาดเพียงใด
ความรักคือ    การที่เราอยากให้โลกนี้มีความสุขสงบ
ความรักคือ    ความรุ้สึกที่พิเศษอธิบายไม่ถูก
ความรักคือ    การที่เราไม่เรียกร้องสิ่งใดจากคนที่เรารัก
ความรักคือ    การที่เราซื่อสัตย์และรักประเทศของเรา
ความรักคือ    การซื่อสัตย์กับคนที่เรารัก
ความรักคือ    การที่เราทำหน้าที่ให้ดีที่สุด
ความรักคือ    การที่เราแบ่งปันความสุขให้คนอื่น
ความรักคือ    การที่เราหันกลับมามองตัวเองยามที่มีทุกข์
ความรักคือ    .........................................................................

ความรักมีนิยามไม่รู้จบ  แล้วนิยามความรักของคุณล่ะครับ     



   

การผัดวันประกันพรุ่ง...อย่างชั้นเซียน

      อย่าแปลกใจครับว่าผมจะส่งเสริมให้มี การผัดวันประกันพรุ่ง เพราะเราทุกคนทราบดีว่าการผัดวันประกันพรุ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดีเท่าไหร่ เพราะจะทำให้สิ่งที่เรารับผิดชอบไม่สำเร็จตามเป้าหมายจนเจ้านายต้องเข้ามากระทุ้งสีข้างเรา แล้วพูดว่า เสร็จหรือยังจ๊ะ  แต่ในชีวิตจริงของเรามีกิจกรรมมากมายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต บางครั้งอาจต้องเรียกหายาทำใจมาช่วยบรรเทาอาการเพื่อให้ทุกอย่างสำเร็จ แต่กว่าสำเร็จก็หืดขึ้นคอ จริงไหมครับ
     จากหลักของกฏ 80/20 เมื่อเราคิดเทียบกับงาน 10 อย่าง เราจะพบว่า มีงาน 2 อย่างที่สำคัญยิ่งที่เราต้องทำก่อน มิเช่นนั้น... แต่อีก 8 อย่างที่เหลือก็มีความสำคัญรองลงมาครับ โดยมี การจัดแบ่งความสำคัญคล้ายกับการจัดแบ่งความสำคัญการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อจัดลำดับการลงมือทำ ดังนี้ครับ

  A : งานนี้มีความสำคัญมากๆ มีผลกระทบต่อความสำเร็จของเรา
  B : งานที่มีความสำคัญรองมา แต่มีผลกระทบน้อยกว่า A
  C : งานที่เราคิดว่าน่าทำ แต่ไม่ทำก็ไม่เป็นไร เช่น การดูทีวี, การอ่านนิตยสารต่างๆ
  D : งานที่เราสามารถมอบให้ผู้อื่นไปทำแทน จะได้ไปทำสิ่งที่สำคัญกว่า
  E : งานที่ไม่มีความสำคัญใดๆเลย ถ้าไม่ทำก็ไม่มีผลใดๆเลย


เป็นอย่างครับการจัดลำดับคามสำคัญของงงาน เพื่อให้เราชาวพัฒนาคุณภาพได้มีเวลาหายใจหายคอบ้างครับ แต่สิ่งที่เราต้องยึดไว้คือ งานทุกอย่างมีความสำคัญทั้งหมด เพียงแต่ ... ต้องจัดลำดับความสำคัญครับ

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความคิด…สร้างชีวิต สร้างงาน สร้างองค์กร ภาค 1

     เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าที่เราอยู่มาได้ทุกวันนี้ โดยมีชีวิตที่รุ่งเรือง เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มีความสุขกับครอบครัว หรือผลลัพธ์ที่ได้ตรงกันข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการคิดของเรา ในฐานที่พอมีประสบการณ์ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพมาบ้าง ได้พบ ได้เห็น การแสดงออกซึ้งความคิดของบุคลากรในหลายระดับ ทั้งในรูปแบบการประชุม การดำเนินชีวิต และอื่นๆ ซึ้งสะท้อนออกมาทั้งในด้านความสำเร็จหรือล้มเหลว ล้วนเกิดจากความคิดและการตัดสินใจทั้งสิ้น ในแง่การพัฒนาคุณภาพ การแสดงออกซึ้งความคิด หรือความคิดเห็น นับเป็นกลไกสำคัญในการที่จะนำไปสู่ข้อสรุป จากนั้นนำไปสู่การปฏิบัติ และติดตามผล จนท้ายสุดนำไปสู่การปรับปรุง และพัฒนาในที่สุด รูปแบบการแสดงออกซึ้งความคิดมีทั้งคูณและโทษในแต่ละรูปแบบ เรามาดูกันนะครับว่ามีอะไรกันบ้างครับ
ความคิดที่ยึดอยู่กับอัตตา : ความคิดนี้เป็นความคิดที่ค่อนข้างเผด็จการ คือยึดตนเองเป็นหลัก ไม่สนใจฟังผู้อื่น เอาความคิดเห็นของตนฝ่ายเดียว อันนี้อันตรายเพราะเกิดมาจากบุคคลเพียงคนเดียว ดังนั้นความรอบคอบ ความลุ่มลึกของความคิดในการแก้ปัญหาจึงค่อนข้างน้อย ดังนั้นโอกาสที่จะผิดพลาดจึงเป็นไปได้สูง ผมขอเรียกว่า ความคิดแบบฮิตเล่อร์ครับ
ความคิดแบบยอดภูเขาน้ำแข็ง : ชื่อความคิดนี้ผมตั้งขึ้น เพื่อเปรียบให้เห็นในเรื่องของการแก้ปํญหาต่างๆ ในการใช้ความคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ เราต้องมุ่งไปที่ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่สุดก่อนครับ เพราะในชีวิตของเราต้องเผชิญปัญหามากมาย ซึ้งเราคงไม่สามารถที่จะตามไปแก้ทุกเรี่องในคราวเดียวกัน อย่างนั้นคงเหนื่อยแย่ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าอะไรสำคัญที่สุด เราก็ไปจัดการสิ่งนั้นก่อน ซึ้งสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในเรื่องของชีวิต หรือการบริหารจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล
ความคิดแบบตามน้ำไหล : ความคิดนี้คือความคิดที่เห็นคล้อยตามไปกับผู้อื่นทุกเรื่อง ซึ้งอาจจะเป็นไปได้ว่ามีความคิดเหมือนกัน แต่ไม่กล้าแสดงออก (รักนะไม่แสดงออก)  หรือว่าคิดไม่ออก ก็ไม่ทราบ อันนี้คงจะไม่เป็นอะไรมากหรอกครับ แต่เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว พอได้งานออกมา ก็จะมีคำพูดว่า ฉันว่าแล้วมันต้องเป็นอย่างนี้ (ผมอยากคิดในใจดังๆว่า ทำไมไม่พูดในที่ประชุมละครับ)
และอื่นๆ
ยังมีอีกความคิดหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอให้พี่ๆน้องๆ ได้รับทราบ นั่นคือ ความคิดคู่ขนาน อะไรคือความคิดคู่ขนาน ความคิดคู่ขนาน ถ้าจะสรุปง่ายๆ ก็คือ การใช้ความคิดแบบรอบด้าน ไม่มองที่จุดใดจุดหนึ่ง เพียงอย่างเดียว คือไม่รับฟังความคิดเพียงด้านเดียว บุคคลเดียว จุดจุดเดียว หรือปล่อยให้บุคคลที่ร่วมประชุมไม่ออกความคิดเห็น แต่จะให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็นร่วมกัน คิดรอบด้าน โดยคิดที่ละเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น โดยมีการนำแนวความคิดที่ลือลั่นสะท้านวงการคือ หมวก 6 ใบ 6 สี มาเป็นผู้ช่วยในการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น หรือการประชุม แต่นั่นต้องคอยพบกับ ความคิด…สร้างงาน สร้างชีวิต สร้างองค์กร ภาค 2 ครับผม
CVHealth_good

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

RM ภาพสะท้อนความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย

          ความปลอดภัยคือจุดสำคัญในการดูแลผู้ป่วยของทุกหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข เพราะการปฏิบัติงานของเราชาวสาธารณสุขต้องปฏิบัติต่อมนุษย์ที่มีความรู้สึก มีความคิด ที่สำคัญมีความรู้สึกเจ็บป่วย และจำเป็นตัองพึ่งพาบุคลากรทางสาธารณสุขในการบรรเทาความเจ็บป่วยนั้น  การที่จะได้รับความปลอดภัยในการให้บริการ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี คือ การบริหารจัดการความเสี่ยงในโรงพยาบาล เพื่อเป็นด่านหรือมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดปัญหา หรือสร้างความปลอดภัยขึ้นในการให้บริการ
           ความเสี่ยงคืออะไร ความเสี่ยง โอกาสที่ผู้ป่วย/เจ้าหน้าที่/องค์กร/ชุมชนจะจะประสบความสูญเสีย บาดเจ็บ/เหตุร้าย อันตราย/ความสูญเสีย/การฟ้องร้อง หรือเหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว 
           ดังนั้นการบริหารจัดการความเสี่ยง จึงเป็นแนวทางที่นำมาใช้ไม่เฉพาะแต่ในด้านสาธารณสุขเท่านั้นแต่ในปัจจุบันยังขยายออกไปทั้งในด้านการบริหาร การเงิน การธนาคารเป็นต้น ในภาพรวมการบริหารจัดการความเสี่ยงมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. การค้นหาความเสี่ยง คือการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น ในหน่วยงาน หรือองค์กรของเรา เพื่อนำมาแก้ไข และกำหนดมาตรการในการป้องกันต่อไป
2. การประเมินความเสี่ยง คือการประเมินว่าปัญหาหรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น มีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไขและวางมาตรการป้องกัน
3.การป้องกัน/แก้ไข คือการกำหนดมาตรการในการป้องกันมิให้ความเสี่ยงหรือปัญหานั้นเกิดขึ้นซำ้อีก
4.การประเมินผลระบบ คือ การประเมินภาพรวมตั้งแต่ การค้นหา การประเมิน การกาป้องกัน ว่ามีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ เพียงพอหรือไม่ ที่สำคัญการประเมินผลระบบต้องตอบให้ได้ว่าสิ่งที่เราวางมาตรการไปแล้วนั้นสามารถปฏิบัติได้จริง เจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน รับทราบ และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
         นี่คือขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอนในการบริหารจัดการความเสี่ยง ในการนี้ผมได้ทำ Powerpoint ภาพรวมการบริหารจัดการความเสี่ยง สามารถศึกษาได้ตามลิงค์ http://cid68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/.ppt ส่วนรายละเอียดจะได้นำเสนอต่อไปครับ หรือถ้าสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ก็ติดต่อที่ E mail : suradet_sri@hotmail.com

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความคิดที่ซุกซน

ความคิด.....            เหมือนลิงวิ่งปีนป่าย
ความคิด.....            จะนิ่งได้อย่างไรหนอ
ความคิด.....            วิ่งวุ่นไม่รั้งรอ
ความคิด.....            หนอ สงบนิ่งทำอย่างไร
ความคิด.....            คือศัตรูกับสติ มีสมาธิเกื้อหนุนสติให้
ความคิด.....            มลายหายจากไป
ความคิด.....            จึงกระจ่างดุจแก้วใสกังวาล เอย  


      สติมา   ปัญญามี
                                                 เสียงคนคุณภาพท่าฉาง





วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Death Power point……. !

         ปัจจุบันการที่เราจะนำเสนอผลงาน สร้างสื่อการสอน การโปรโมทสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ หรือสมัครเล่น เราคงหนีไม่พ้นการใช้ Power point (ใครไม่รู้จักบ้างครับยกมือขึ้น) ผมคิดว่าคงจะมีน้อยมากๆที่การนำเสนอต่างๆจะใช้วิธีปิ้งแผ่นใส ที่ต้องกลับไปไปกลับมา ยังกับปิ้งปลาหมึก ถ้าลายมือสวยก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่ก็คงจะต้องเป็นผู้ชายแถวหน้ากระมังเพราะอ่านไม่ออก ซึ่งคงจะมีประสบการณ์กันมาบ้างนะครับ ที่นำหัวเรื่องไว้ว่า Death Power point  มิใช่เป็นสื่อมรณะอย่างกับ Death note สมุดบันทึกมรณะ (การ์ตูนหรือหนังยอดฮิต) ทำนองน่ากลัวแบบนั้นครับ แต่เป็นการสื่อให้เห็นความน่ากลัวของการนำเสนอ Power point ที่สร้างความอึดอัด สับสน ตาลาย  ง่วงนอน จนกระทั่ง หลับ..zzz (ราตรีสวัสดิ์) จนเราไม่รู้เรื่องว่าผู้พูดกำลังสื่อสารอะไรกับเราอยู่ (ภาษาต่างดาว,,.)  ในที่สุดสิ่งที่เราตั้งใจที่จะไปฟัง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป เลยไม่ได้รับอย่างที่ควรจะเป็น แล้วอะไรบ้างล่ะครับ ที่เป็นการนำเสนอแบบ Death Power point มาติดตามกันครับ
1. โลกนี้มีเพียงฉัน(ผู้พูด)กับเธอ(คอมพิวเตอร์) : นำเสนอแบบไม่สนใจผู้ฟังรอบข้าง สนใจอย่างเดียวคือหน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่นคืออ่านและก็อ่านข้อมูลที่ปรากฏอยู่ที่หน้าจอ พอพูดจบแล้วเงยหน้าขึ้นมาดู ผู้ฟังก็หายไปจากห้องทั้งหมด หรือก็หลับหมด เหลืออยู่อย่างเดียวคือฉันและเธอ นั่นคือเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังบ้างครับ เช่นสบตากันบ้าง ทำมือทำไม้บ้าง อย่างน้อยก็บอกว่าฉันสนใจคุณนะ อยากให้คุณสนใจฉันหน่อย
2.แผ่นPower point มิใช่หน้ากระดาษนิยายความรัก(บรรยายอย่างยืดยาว) : นำเนื้อหาที่เราจะนำเสนอมาเขียนบนแผ่น Power point ทั้งหมด โอ้ลัลล้า อ่านหรือดูตาลายมากๆ ขอยาดมหน่อยครับ พยายามสรุปใจความสำคัญที่เราต้องการนำเสนออาจจะเหลือมากสุดประมาณ 8-10  บรรทัด หรือน้อยกว่านั้น ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เราจะนำเสนอ ข้อมูลที่อยู่นอกเหนือจากนี้ก็เล่าผู้ฟังได้รับทราบ อย่าให้แผ่น Power point เป็นผู้เล่าครับ เพราะเราเป็นผู้นำเสนอครับ
3. Special Effect ระดับ Steven Spilberg (พ่อมดแห่งโลกภาพยนต์) : อย่ากระหน่ำแสง สี เสียง ภาพประกอบ และอื่นๆ มากเกินไปครับ เพราะจะทำให้ผู้ฟังของเราจะตื่นตา ตื่นใจ ไปกับแสง สี เสียงที่อลังการของเรา จนเนื้อหาที่เราต้องการดูจืดหรือไม่สนใจไปเลย เพราะ Special Effect กลายเป็นพระเอกไป ดังนั้นทุกอย่างอยู่ที่ความพอดีครับ
4.ขนาดตัวอักษร กล้องส่องทางไกลยังเรียกพี่ : ขนาดหรือตัวอักษรอย่าให้เล็กเกินไปครับ สงสารผู้อาวุโส ที่ท่านมีความตั้งใจที่จะมาฟังเรา เพราะถ้าตัวอักษรของเราเล็กเกินไป ถ้าเนื้อหาฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ยังมีปัญหาเรื่องตัวอักษรอีก ก็คงเอวัง ด้วยประการละฉะนี้ …สาธุ
5.ชั่วชีวิตนี้รักเธอเพียงฉบับเดียว(ข้อมูลการนำเสนอ) :ถ้าเรานำเสนอข้อมูลแล้วใช้ชุดเดียวตลอด ไม่ว่าจะนำเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ชาวบ้าน ตาสี ตาสา เด็กๆ ผลจะเป็นอย่างไรครับ คำตอบคือ ไม่ใคร ก็ใคร คงได้พูดให้เราได้ยินว่า พี่ๆมาจากดาวดวงไหนครับ ผมฟังไม่รู้เรื่องเลย เราก็คงตอบว่ามาจากที่เดียวกับน้องละครับ ดังนั้นแล้วการนำเสนอข้อมูลเรื่องเดียวกัน แต่ผู้ฟังแตกต่างกัน ก็ควรทำ Power point ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เพื่อความน่าสนใจ และติดตามครับ
6.การเตรียมตัวไม่ดี หมดความน่าเชื่อถือ 100%  :ผู้บรรยายจำต้องเตรียมความพร้อมในเนื้อหาที่เราจะสื่อสารให้กับผู้ฟังได้รับทราบ นั่นคือต้องแม่นในเนื้อหา มีการเตรียมตัวมาอย่างดี ขจัดความกลัวทุกอย่างให้หมด คิดเสียว่า เราคือผู้รู้มากทีสุดในห้องนั้น และที่สำคัญการแต่งกายต้องสุภาพ เรียบร้อย เพราะนั่นคือบันไดก้าวแรกของความน่าเชื่อถือครับ
      เป็นอย่างไรครับ เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย ของ Death Power point  ลองนำไปศึกษาดูนะครับ แล้วเราจะเป็น พรีเซ็นเตอร์ ได้อย่างแน่นอนครับ
9

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การประเมินเพื่อการพัฒนาคุณภาพ HA

        จากบทความเรื่อง การพัฒนาคุณภาพที่แท้จริง ทีได้นำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบ เราจะพบว่า การพัฒนาคุณภาพ HA คือการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง นั่นคือมีการประเมินตนเอง หมายถึงการที่หน่วยงาน ระบบงาน องค์กรหรือโรงพยาบาล ทำการประเมินตนเองเป็นระยะๆ โดยอาศัยเครื่องมือ หรือชุดความรู้ เป็นแนวทางในการประเมิน พัฒนา หาจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน สิ่งที่การพัฒนาคุณภาพตามแนวทาง HA มุ่งหวังคือ เมื่อเราทำแบบประเมินตนเองแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Service profile สำหรับหน่วยงาน, การประเมินตนเองตามแนวทาง SA (Self assesment) ตอนที่ 1-4 สำหรับระบบงานที่สำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น RM ,IC,PCT,PTC,HRD เป็นต้น,Hospital profile สำหรับองค์กรหรือโรงพยาบาล , การทำ Tracer เช่น Clinical tracer เป็นต้น  จะมิใช่เสือกระดาษ คือทำเสร็จหรือประเมินเสร็จเรียบร้อยก็เก็บไว้ โดยมิได้มีการปรับปรุงเป็นระยะตามบริบทที่เปลี่ยนไป  แต่สิ่งที่การพัฒนาคุณภาพ HA อยากเห็นคือ นำเอกสารต่างๆที่กล่าวมานี้ มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและปรับปรุง คือมีการปรับปรุงเป็นระยะ นำมาทบทวน ประเมิน เรียนรู้ แก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติ นี่คือหัวใจของการทำเอกสารที่นำมาใช้ในการประเมินคุณภาพ เพื่อให้มีความครบถ้วนของบทความ ผมได้ลิงค์ไปยัง Wrbsite ที่มีเอกสารต่างที่เกี่ยวข้องกัยการประเมินอยู่มาให้ทุกท่านได้ศึกษาครับ
1.คู่มือการนำมาตรฐานสู่การปฏิบัติ SPA ตอน I-III :http://www.ha.or.th/ha2010/th/process/index.php?key=processTure&GroupID=80
2.ขุมทรัพย์ความรู้ HA Forum ครั้งที่ 12 :http://www.hamember.com/km_f12/abstract.html
3.เอกสารประกอบการขอรับรองและการประเมิน :http://www.ha.or.th/ha2010/th/process/index.php?key=process&GroupID=76
4. การใช้ Service Profile / Unit Profile :http://cid68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/Success%20with%20Service%20Profile.doc
5.แนวทางการวิเคราะห์ Service Profile ของหน่วยงาน/บริการ/ทีมงานhttp://cid-68239e44a0b26300.office.live.com/view.aspx/.Documents/Guideline%20Service%20Profile%20Analysis.doc
6. ตัวอย่างการเขียนการประเมินตนเอง :https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxxY3RoYWNoYW5nfGd4OjdmY2QxN2QxZDY0MTBkMGQ

ขอขอบคุณ สรพ. ที่แบ่งปันข้อมูลครับ

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเก็บและรักษาสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการชันสูตร

       การตรวจรักษาของแพทย์นอกเหนือจากจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอื่นๆ การตรวจทางห้องปฏิบัติถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในข้อมูลที่แพทย์จะนำไปรักษา ติดตาม ประเมินอาการของผู้ป่วย แต่การที่เราจะได้ผลการตรวจที่มีคุณภาพ และเหมาะสม มีขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากนั่นคือ การเก็บสิ่งส่งตรวจ ผลการตรวจวิเคราะห์ที่มีความผิดพลาดหรือไม่สามารถนำไปใช้ได้ สาเหตุหนึ่งก็มาจากการเก็บสิ่งส่งตรวจที่ผิดวิธีนั่นเอง ดังนั้นแล้วการเก็บสิ่งส่งตรวจถือว่าเป็นด่านแรกที่ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสำคัญ เพราะแม้ว่าเราจะมีเทคโนโลยีที่สูงเพียงใด หรือมีบุคลากรที่มีความชำนาญเพียงใด ถ้าเก็บสิ่งส่งตรวจผิด ผลที่ได้ก็เหมือนไม่ได้ทำอะไร โดยสามารถศึกษาได้ตามลิงค์https://docs.google.com/viewera=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxxY3RoYWNoYW5nfGd4OjY5MGNiNjcyNzViY2ZjM2Q&pli=1 ครับ

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...