วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พรหมวิหาร 4 กับการพัฒนา


              ในช่วงนี้การพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HA นอกจากจะเน้นในเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยแล้ว จุดเน้นที่นำมาเสริมให้ครบมิติการพัฒนาคือ มิติแห่งจิตวิญญาณ หรือ SHA คือนอกเหนือจะดุแลที่ร่างกายแล้ว ยังจะต้องดูแลที่จิตใจด้วย ดังคำของอาจารย์ดวงสมรที่ว่า ถ้าเปรียบ HA ก็เป็นดั่งความดี แต่ถ้าเป็น SHA แล้วคือ ความงามที่เรามอบให้กับผู้ป่วย ประเทศเราเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนที่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสไว้นั้น สามารถที่จะมาปรับใช้ให้เข้ากับบบรยากาศการพัฒนาคุณภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ ลองมาดูตัวอย่าง พรหมวิหารธรรม ซิครับว่าเราจะปรับใช้ได้อย่างไร 
เมตตา(ความเมตตาต่อผู้อื่น) : การดูแลผู้ป่วยต้้องมีความเมตตาเป็นอย่างสูง ทั้งในส่วนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่เราต้องให้ความเมตตา ให้ความรัก ปฏิบัติต่อเค้าด้วยสิ่งที่เรียกว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึงการที่ผู้ป่วยมาหาเราแล้วต้องการอะไรนั่นคือสิ่งที่เราต้องการในยามเจ็บป่วย พูดดีๆ ให้กำลังใจ เป็นต้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่เราก็ปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกัน ไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ทุกคนกระทำคือเป้าหมายเดียวกันนั่นคือผู้ป่วยที่เข้ามาหาเรา
กรุณา(หวังให้ผู้อื่นมีความสุข): ความสุขในด้านผู้ป่วยคือหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เกิดความเสี่ยงจากการให้การรักษา นำความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานมาใช้กับผู้ป่วย รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการรักษาทั้งร่างการและจิตใจ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ก็ต้องช่วยกันประคับประคองและบรรเทาทั้งในความทุกข์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่และการทำงานในขั้นตอนต่างๆเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
มุทิตา(ยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข): มีความรู้สึกยินดี และให้กำลังใจกับผู้ป่วยในยามที่ผู้ป่วยร้องขอไม่ว่าเรื่องใดตามความสามารถที่เราทำได้ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ควรมีความยินดีร่วมกันเมื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนี่งประสบความสำเร็จไม่ว่าเป็นเรื่องอะไรและพร้อมที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการที่เราจะก้าวไปด้วยกัน
อุเบกขา (ความเป็นกลาง): ไม่ได้หมายถึงไม่ทำอะไร แต่เป็นการที่เราผู้ปฏิบัติหน้าที่เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากหรือลำบาก ล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องใดอย่าได้ท้อแท้ แต่ควรวางจิตใจให้นิ่งและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไข และปรับปรุงให้สามารถดำเนินการและก้าวไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง  ถ้าประสบความสำเร็จก็อย่าดีใจเกินไปและไม่ทำอะไรเพิ่มเติมและอย่าใช้เวลาชื่นชมกับความสำเร็จให้นานเกินไป แต่ควรคิดว่าเราจะทำอะไรต่อเพื่อให้การปฏิบัติงานหรือการดูแลผู้ป่วยได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะเป็นอะไรหรือทำหน้าที่อะไร ก่อนเริ่มทำงานลองเอาหลักธรรม พรหมวิหาร 4 มากำกับในใจ เพื่อเป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตในการทำงานของเราครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...