วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

HA สู่ SHA การพัฒนาที่ยั่งยืน

       การพัฒนาคุณภาพมีมิติในการพัฒนาที่หลากหลาย เปรียบดั่งเพชรที่มีเหลี่ยมมุมพร้อมที่จะส่องประกายแวววาวให้ผู้คนรอบข้างได้ชื่นชม การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นอีกหนึ่งการพัฒนาที่มุ่งหวังให้ ผู้ป่วยได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย เราเรียกกันว่า HA  ซึ้งสถานพยาบาลต่างๆ ได้นำมาปรับใช้ เพื่อให้ผู้รับบริการของเราได้รับสิ่งที่เป็นไปตามความมุ่งหมายของ HA  แต่ในระยะหลังนี้แนวทางในการพัฒนาคุณภาพ HA มีจุดเสริมให้การดูแลผู้ป่วยมีมิติที่ครอบคลุมมากขึ้น นั่นคือคำนึงถึงจิตวิญญาณเข้ามาร่วมในการดูแลผู้ป่วยด้วย หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า SHA  
( ถ้าความดีเปรียบได้กับ HA  SHA ก็ความดีงามนั่นเอง : วรรคทองของ อาจารย์ดวงสมร)

จากประโยคข้างต้นเราจะพบว่าการพัฒนา HA และ SHA คือส่วนเติมเต็มให้แก่กันที่ทำให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลมีความยั่งยืน คือยั่งยืนทั้งในด้านความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ รวมทั้งได้หันกลับไปมองสิ่งที่ขาดหายไปของการพัฒนานั่นคือสภาพจิตใจของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงผู้ป่วยคงไม่เดินเข้ามาเราจริงไหมครับ แต่การเดินเข้ามาหาเรานอกจากร่างกายที่มีความเจ็บป่วยแล้วผมคิดว่าจิตใจต้องย่ำแย่ อาจจะเท่ากับร่างกายหรือมากกว่า ทุกท่านคงเคยได้ยินคำว่า ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ใช่ไหมครับ ความหมายคือถ้าใจของเราสบาย ไม่มีความกังวล มีความสุข สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาให้ร่างกายของมีความแข็งแรง สดใส แม้จะเจ็บป่วยก็ตาม  SHA จึงสามารถเข้ามาเติมเต็มให้การดูแลผู้ป่วยมีมิติที่งดงามมากขึ้น
  SHA คืออะไร คำเต็มคือ Sustainable Health care&Health Promoting by Appreciation& Accreditation
ซึ้งองค์ประกอบ หรือมุมมองในการมาปรับใช้มีความหลากหลาย อย่างเช่น Healing Environment เป็นต้น ซึ้งผมจะไดด้มานำเสนอต่อไปครับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความก้าวหน้าและเกณฑ์การวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย

        โรคธารลัสซีเมีย จัดเป็นโรคทางพันธุกรรมที่สำคัญของประเทศไทย โดยผู้ป่วยที่เป็นระดับรุนแรง ปานกลาง มีความทุกทรมาน และมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง จึงต้องมีการป้องกัน และดูแลโดยเฉพาะคู่สมรสที่จะมีทายาทตัวน้อยๆ ที่จะเกิดมาเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป โดยในการนี้ได้มีการการประชุมห้องปฏิบัติการธาลัสซีเมียแห ่งชาติ ครั้งที่ ๒Change and Chance : การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าและโอกาสพัฒนาที่ก้าวไกล ระหว างวันที่ ๒๔ – ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผมคิดว่าคงมีหลายท่านได้ไป แต่ก็คงมีอีกหลายท่านไม่ได้ไป ในการนี้ได้มีสื่อความรุ้ออกมา ซึ้งน่าสนใจมากในการที่จะนำมาปรับใช้ และเป็นแนวทางในการควบคุมและป้องกันโรคธารัสซีเมียต่อไปครับ ตามลิงค์http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/crc/thallab1.html

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พรหมวิหาร 4 กับการพัฒนา


              ในช่วงนี้การพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HA นอกจากจะเน้นในเรื่องความปลอดภัยและมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยแล้ว จุดเน้นที่นำมาเสริมให้ครบมิติการพัฒนาคือ มิติแห่งจิตวิญญาณ หรือ SHA คือนอกเหนือจะดุแลที่ร่างกายแล้ว ยังจะต้องดูแลที่จิตใจด้วย ดังคำของอาจารย์ดวงสมรที่ว่า ถ้าเปรียบ HA ก็เป็นดั่งความดี แต่ถ้าเป็น SHA แล้วคือ ความงามที่เรามอบให้กับผู้ป่วย ประเทศเราเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา หลักธรรมคำสอนที่องค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสไว้นั้น สามารถที่จะมาปรับใช้ให้เข้ากับบบรยากาศการพัฒนาคุณภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ ลองมาดูตัวอย่าง พรหมวิหารธรรม ซิครับว่าเราจะปรับใช้ได้อย่างไร 
เมตตา(ความเมตตาต่อผู้อื่น) : การดูแลผู้ป่วยต้้องมีความเมตตาเป็นอย่างสูง ทั้งในส่วนที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่เราต้องให้ความเมตตา ให้ความรัก ปฏิบัติต่อเค้าด้วยสิ่งที่เรียกว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา หมายถึงการที่ผู้ป่วยมาหาเราแล้วต้องการอะไรนั่นคือสิ่งที่เราต้องการในยามเจ็บป่วย พูดดีๆ ให้กำลังใจ เป็นต้น ในส่วนของเจ้าหน้าที่เราก็ปฏิบัติต่อกันด้วยความรัก หนักนิดเบาหน่อยก็ให้อภัยกัน ไม่เก็บมาเป็นอารมณ์ เพราะสิ่งที่ทุกคนกระทำคือเป้าหมายเดียวกันนั่นคือผู้ป่วยที่เข้ามาหาเรา
กรุณา(หวังให้ผู้อื่นมีความสุข): ความสุขในด้านผู้ป่วยคือหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เกิดความเสี่ยงจากการให้การรักษา นำความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานมาใช้กับผู้ป่วย รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการรักษาทั้งร่างการและจิตใจ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ก็ต้องช่วยกันประคับประคองและบรรเทาทั้งในความทุกข์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่และการทำงานในขั้นตอนต่างๆเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
มุทิตา(ยินดีที่ผู้อื่นมีความสุข): มีความรู้สึกยินดี และให้กำลังใจกับผู้ป่วยในยามที่ผู้ป่วยร้องขอไม่ว่าเรื่องใดตามความสามารถที่เราทำได้ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ควรมีความยินดีร่วมกันเมื่อหน่วยงานใดหน่วยงานหนี่งประสบความสำเร็จไม่ว่าเป็นเรื่องอะไรและพร้อมที่จะนำมาเป็นแบบอย่างในการที่เราจะก้าวไปด้วยกัน
อุเบกขา (ความเป็นกลาง): ไม่ได้หมายถึงไม่ทำอะไร แต่เป็นการที่เราผู้ปฏิบัติหน้าที่เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยากหรือลำบาก ล้มเหลว หรือไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องใดอย่าได้ท้อแท้ แต่ควรวางจิตใจให้นิ่งและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การแก้ไข และปรับปรุงให้สามารถดำเนินการและก้าวไปสู่สิ่งที่มุ่งหวัง  ถ้าประสบความสำเร็จก็อย่าดีใจเกินไปและไม่ทำอะไรเพิ่มเติมและอย่าใช้เวลาชื่นชมกับความสำเร็จให้นานเกินไป แต่ควรคิดว่าเราจะทำอะไรต่อเพื่อให้การปฏิบัติงานหรือการดูแลผู้ป่วยได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นแล้วไม่ว่าเราจะเป็นอะไรหรือทำหน้าที่อะไร ก่อนเริ่มทำงานลองเอาหลักธรรม พรหมวิหาร 4 มากำกับในใจ เพื่อเป็นเข็มทิศในการดำเนินชีวิตในการทำงานของเราครับ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

HA การพัฒนาคุณภาพที่แท้จริง

     การพัฒนาคุณภาพ style HA หลายท่านคงสงสัยหรืองงๆว่าคืออะไรกันแน่ เดี๋ยวทำนั่น เดี๋ยวทำนี่ สับสน และก็สับสน แท้ที่จริงคืออะไร ถ้าจะให้คำตอบก็คือ การเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานและผู้ป่วยปลอดภัย มิใช่การได้รับการรับรอง งงไหมครับ เพราะผลลัพธ์สุดท้ายของการพัฒนาคุณภาพคือการที่เราได้รับการรับรองในขั้น 3 ซึ้งคือผ่าน พร้อมประกาศนียบัตร จึงทำให้เราติดกับดักตรงนี้คือทำเพื่อให้ผ่าน แท้จริงการได้รับการรับรองคือผลพลอยได้ของการที่เราพัฒนากระบวนการต่างๆในโรงพยาบาล มันเป็นแรงกระตุ้น เป็นขวัญ เป็นกำลังใจ ให้เราดำเนินการพัฒนา แต่ต้องไม่ยึดว่าการได้รับการรับรองเป็นจุดมุ่งหมาย แต่ต้องมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทำงานเป็นทีม และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  การประเมินจาก สรพ. คือแรงกระตุ้นให้เราดำเนินการพัฒนาคุณภาพเพื่อทำการต่อสู้กับศัตรูที่แอบอยู่ภายในองค์กรของเราคือความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นที่เราต้องกำจัดและวางมาตรการในการป้องกันมิให้เกิดขึ้นซ้ำ รวมทั้งเราต้องคอยช่วยบรรเทาความเจ็บป่วยและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้รับบริการที่เข้ามาหาเราในฐานะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในระดับต่างๆ ให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพและเกิดความปลอดภัย และจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่เราต้องพิจารณาเพิ่มคือการดูแลของเราต้องใส่หัวใจแห่งความเป็นมนุษย์ไปด้วย นั่นคือ มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาในการดูแลผู้ป่วยและการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย
   กิจกรรมหรือเครื่องมือต่างๆที่ สรพ. นำเสนอให้ใช้นั้นคือสิ่งที่เราต้องพิจารณาในการนำมาใช้ให้เหมาะสม ไม่ว่า กิจกรรมบันได 3 ขั้น ,หัวหน้าพาทำคุณภาพ, 6 เส้นทาง 4 วง หรืออื่นๆ สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ สิ่งที่เราจะพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงต้องเป็น Style ของเราเอง คือต้องเป็นตัวของเราเองหรือบริบทของเรามิใช่ของคนอื่น เพื่อว่าการพัฒนาจะได้มีความสุข สนุกสนาน(จริงหรือเปล่า) ไม่เครียด ที่สำคัญจะเกิดความยั่งยืน เพราะสิ่งนี้คือ HA style ชาวสาธารณสุขครับ
feedback-is-the-breakfast-of-champions_image
ทำงานประจำให้ดี มีอะไรให้คุยกัน ขยันทบทวน

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

พลวัตการประชุม

                ในสภาพปัจจุบันเราจะพบว่าการทำงานในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานตามหน้าที่ หรืองานพัฒนาคูณภาพที่เป็นงานพิเศษ (อะ อะ อย่าเรียกงานพิเศษ ต้องเรียกว่า ทำงานประจำให้ดี มีอะไรให้คุยกัน ขยันทบทวน) สิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือเราต้องประชุม ประชุม และก็ประชุม การประชุมจะได้สาระ หรือไม่ได้สาระ ใช้เวลามากหรือใช้เวลาน้อย ได้งานหรือได้ใจหรือไม่นั้น เราต้องมองว่าการประชุมก็เหมือนร่างกายที่ต้องมีองค์ประกอบ ซึ้งองค์ประกอบของการประชุมนั้นมีส่วนที่จะช่วยให้ผู้ประสานงานคุณภาพหรือผู้ที่รับบทบาทในการดำเนินการประชุม สามารถขจัดปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้ ผมขอเรียกว่า พลวัตรของการประชุม  ตามลิงค์ https://cid-68239e44a0b26300.office.live.com/view..ppt ครับ
6266973-business-meeting-cartoon

บทเรียนอันทรงคุณค่าของ Nokia กับ RM

ถ้าจะกล่าวว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงคือการรับมือและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก ไม่ว่าจะเป็น 1...