Buzz Group : กระบวนกลุ่มรูปแบบหนึ่ง (กลุ่มเล็กๆ) ที่เปิดโอกาส และกระตุ้นให้ผู้ที่มีส่วนร่วมในกลุ่ม ให้สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ของแต่ละคนอย่างอิสระ เพื่อให้ทุกคนได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และได้ข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือต่้องการหาคำตอบในประเด็นที่สนใจ ในช่วงเวลาที่กำหนดให้ (ปกติใช้เวลาสั้นๆประมาณ 5-10 นาที )
Buzz Group สามารถทำได้ดังนี้
- แบ่งกลุ่มโดยในแต่ละกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 2,3,4,5 แล้วแต่จำนวนผู้เข้าร่วมอภิปราย และนั่งล้อมวง
- กำหนดประเด็นหัวข้อที่เราจะดำเนินการอภิปรายให้ชัดเจน และให้เวลาประมาณ 5-10 นาทีในการอภิปราย
- ให้อิสระแก่ผู้ที่อภิปรายในแต่ละกลุ่ม ในการแสดงความคิดเห็น โดยผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือ ( Facilitator ) ไม่ควรเข้าไปแทรกแซงหรือชี้นำในเรื่องที่กำลังพูดคุย เพียงทำหน้าที่กระตุ้น หรือให้ข้อแนะนำยามที่กลุ่มร้องขอ
- เมื่ออภิปรายเสร็จแล้วให้แต่ละกลุ่มสรุปผลการอภิปรายที่ได้ร่วมกันให้ข้อคิดเห็น และส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มมานำเสนอให้กับที่ประชุมได้รับทราบ
- ผู้สอนหรือวิทยากรสรุปบทเรียนจากแต่ละกลุ่มที่นำเสนอมา อาจมีการเพิ่มเติมองค์ความรู้ และเน้นย้ำในประเด็นที่เราได้ทำ Buzz group กัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ และต่อยอดได้
- เพื่อกระตุ้นผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนได้แสดงความคิด แสดงความเห็น ความรู้ของตน
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสำคัญๆ อย่างกว้างขวาง
- ใช้เวลาในการอภิปรายน้อยกว่าการอภิปรายกันทั้งห้องประชุม และเกิดปัญหาน้อยกว่า
- เปิดโอกาสให้ผู้สอน วิทยากรสามารถกระตุ้นให้เกิดการถามตอบกันได้ง่ายของกลุ่มที่มีท่าทีเฉยๆ หรือยังไม่ให้ความร่วมมือ
- สามารถสร้างความคิด สร้างความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และต่อยอดโดยใช้เวลาไม่นาน
- ผึกให้ผู้เรียนยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น และรู้จักวิเคราะห์ กล้าคิด กล้าพูด และกล้าตัดสินใจ
- ผู้เรียนได้รับความรู้โดยตรงจากประสบการณ์ที่ผู้เข้าร่วมประชุมในแต่ละกลุ่มได้ถ่ายทอดออกมา
- ผู้เข้าร่วมประชุมบางท่านไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นออกมา ซึ้งผู้ดำเนินการอภิปรายหรือวิทยากรควรหมั่นสังเกต เพื่อเข้าไปกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมกล้าแสดงความคิดเห็นออกมา
- การให้เวลาในการแสดงความคิดเห็นใช้เวลาเพียงสั้นๆ อาจทำให้ผู้ร่วมอภิปรายไม่แสามารถแสดงความคิดเห็นได้ครบทุกคน
- ผู้เข้าร่วมในการอภิปรายต้องมีการเตรียมตัว เตรียมความรู้ที่จะเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น เพื่อสามารถให้ข้อมูล ข้อคิดเห็นได้ นั่นคือเป็นผู้ปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
- ประเด็นที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนควรประเด็นที่มีความชัดเจน
- ควรรักษาเวลาให้ได้ตามที่กำหนดไว้ ( 5-10 นาที )
- เน้นย้ำให้กลุ่มจดประเด็นสำคัญที่มีการพูดคุย เพื่อนำมาเสนอต่อที่ประชุมต่อไป
- ควรเปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆสามารถร่วมพูดคุย และอภิปรายได้อย่างทั่วถึง
- ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละท่านควรนำ ข้อมูล ความรู้ที่เกิดขึ้นในกลุ่ม/ที่ประชุม นำมาพิจารณาเพื่อปรับปรุง และพัฒนากระบวนการการทำงานของตน ตามบริบทที่เกิดขึ้น
โดย สุรเดช ศรีอังกูร ( Suradet Sriangkoon )